Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5052
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคมวยไทยที่ส่งผล ต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Effects of Thai Boxing Aerobic Dance towards Health-Related Physical Fitness of 10 Grade Students
Authors: MANATSANAN SRIPHUTORN
มนัสนันท์ ศรีภูธร
Thaweesub Koeipakvaen
ทวีทรัพย์ เขยผักแว่น
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมการออกกำลังกาย
แอโรบิคมวยไทย
Exercise and Sports Program
Thai Boxing Aerobic Dance
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is experimental research aiming to compare physical fitness of Thai boxing aerobic dance training program towards health-related physical fitness of 10 grade students between pretest and posttest of the sample, also to compare physical fitness of the posttest between the experimental group and the control group. The sample consisted of 40 high school students by simple random sampling. The research instrument was Thai boxing aerobic training program and physical fitness tests for health. Regularly, there were physical fitness tests in the sample group before training and after the 8th week. The experimental group had differences in body composition (BMI) as well as flexibility, muscle strength, muscular endurance and cardiovascular endurance were altered. The experimental group had the statistically significant difference in physical fitness for internal health: muscle strength and endurance at the .05 level. In conclusion, the experimental group had better physical fitness than  the control group in all aspects at the statistically significant level of .05.
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายในการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังทดลองของกลุ่มทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายในการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังทดลองระหว่างควบคุมและกลุ่มทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ทดสอบสมรรถภาพทางกายกลุ่มตัวอย่างก่อนการฝึกและหลังสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความแตกต่างด้านองค์ประกอบของร่างกาย (BMI) เช่นเดียวกับด้านความอ่อนตัว ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อและด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดมีการเปลี่ยนแปลง 2) กลุ่มทดลองมีความแตกต่างสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพภายในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและด้านความอดทนของกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5052
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061443.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.