Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5051
Title: | ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 THE EFFECT OF COMBINATIONS TRAINING PROGRAM ON AGILITY OF BASKETBALL PLAYERS FOR STUDENTS MATTHAYOMSUAKSA 3. |
Authors: | Pataraporn Boonthaweemit ภัทรภร บุญทวีมิตร Taweesak Sawangmek ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ Naresuan University. Faculty of Education |
Keywords: | โปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ บาสเกตบอล ความคล่องแคล่วว่องไว Combinations training program Basketball Agility |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research is a Quasi-experimental and survey research aimed to study and compare the effect of the use of the tandem training program on basketball agility. of student Matthayomsuaksa 3, Of the experimental group and the control group and to study the satisfaction of participating in a tandem training program affecting agility in basketball. Of the students in Matthayomsuaksa 3,
A sample group of this research consists of 40 volunteered student Matthayomsuaksa 3, studying in 2020, selected by using the purposive sampling method divided into two groups 20 students of an experimental group who use the Combinations training program that affects agility in basketball and 20 students of a control group who exercise normally. Tools used in this research are the Combinations training program and satisfaction survey. Time spent in this study is 8 weeks, 3 days per week using daily exercises in the program. During the experiment, the researcher collects variable data of agility before and after attending the program and study their satisfaction towards the program. The statistics used in the analysis after the experiment are mean, standard deviation, dependent t-test and independent t-test.
The findings of this research reveal that:
1. The results of the comparison of the mean and standard deviation of the effect of the use of the Combinations training program on agility in basketball. of students Matthayomsuaksa 3 of the experimental group and the control group for 8 weeks using independent comparative methods. There was a statistically significant difference at the .05.
2. The satisfaction results of the effect of combinations training program on agility of basketball players. There were four aspects of students Matthayomsuaksa 3 personnel, site management, equipment and facilities. And services, found that all aspects had a high level of satisfaction (X = 4.39), with the side with the highest average being personnel (X = 4.44), followed by management (X = 4.39) and location. that Equipment and facilities (X = 4.36) and services (X = 4.26), respectively. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม 20 คน ฝึกทักษะในกีฬาบาสเกตบอลตามแผนการจัดการเรียนการสอน และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ที่ได้ฝึกตามโปรแกรมแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และทำการเก็บข้อมูลตัวแปรด้านความคล่องแคล่วว่องไวก่อนและหลังการใช้โปรแกรม รวมถึงศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำผลมาวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีทางสถิติ โดยทำการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (Dependent t-test) และระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลของการใช้โปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้วิธีเปรียบเทียบค่าที่เป็นอิสระต่อกัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวว่องไวในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการจัดการ ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวก และด้านบริการ โดยพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.39) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านบุคลากร (X = 4.44) รองลงมา ด้านการจัดการ (X = 4.39) และด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวก (X = 4.36) และด้านบริการ (X = 4.26) ตามลำดับ |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5051 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62061412.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.