Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5046
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | TASNEE WONGKAM | en |
dc.contributor | ทรรศนีย์ วงค์คำ | th |
dc.contributor.advisor | Anucha Kornpuang | en |
dc.contributor.advisor | อนุชา กอนพ่วง | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2023-01-11T02:30:35Z | - |
dc.date.available | 2023-01-11T02:30:35Z | - |
dc.date.issued | 2564 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5046 | - |
dc.description | Doctor of Education (Ed.D.) | en |
dc.description | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to develop essential competencies of student teachers (ECST) in the closed system teacher production project. The research method divided into 4 steps as follows: Step 1: Analyzes of components in closed system teacher production project. Step 2: Creating and reviewing the appropriateness of the competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project. Step 3: To try out the competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project. And Step 4: Assess the feasibility and the usefulness of the competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project. In step 1; researcher synthesizing documents and interviewing 6 experts then collecting data by using questionnaires in lower northern area in the closed system teacher production project with 400 graduated students’ year 2018 and year 2020. Data analyzed by using linear structural relationship model method by M-Plus program. And study guidelines by interviewing 6 experts that expertise in the closed system teacher production project. In Step 2; Using the data from step 1 to create a draft and review the feasibility of the model by interviewing 6 experts. Step 3; Try out the model by using average percentage, standard deviation and test the hypothesis with Paired sample t-test. And Step 4; Evaluate the usefulness of the competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project. Step 3 and 4 collecting data with 16 graduated students from closed system, 17 graduated students from open system, and 9 developers and supervisors of closed system teacher production project. The result showed. 1. There are 6 competencies of student teachers (ECST) in the closed system teacher production project which are 1) competency of adapting philosophy of the sufficiency economy to the student’s learning 2) competency of supervision to help individuals and inspire their potential to the fullest 3) competency of technology in developing curriculum teaching and evaluating 4) competency in research and teaching development for student 5) competency of collaboration and 6) competency in self-developing as world citizen. The confirmatory factor analysis of closed system teacher production project showed chi-square value of 444.949, df value of 399, p-value of 0.0558, RMSEA value of 0.017, CFI value of 0.997 and TLI value of 0.995. And the teacher competency development guidelines of the closed-system teacher production project consisted of 4 parts: 1) A competency development method, 2) A competency development process, 3) The role of a competency developer, and 4) The role of a competent target. 2. The competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project conducted three components which are 1) development direction (Input) 2) development guidelines (Transformation) and 3) development result (Output/Results) the result shoed that the model’s appropriate was at the highest level. 3. The result after try out competency of adapting philosophy of the sufficiency economy to the student’s learning showed both group of graduated students be able to adapt knowledge and understand the use of philosophy of the sufficiency economy to the student’s learning with 0.05 significance level, the performance in activities were at the high level along with used of PLC in practice were at high , the satisfaction were at high level and the overall result and performance of adapting philosophy of the sufficiency economy training for both graduated students from open and closed system were at high level. 4. The overall result of evaluating the usefulness of the competencies of student teachers (ECST) model in the closed system teacher production project and the development of activities guidebook from both open and closed graduated students also with the supervisor were at high level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด โดยในขั้นที่ 1 ดำเนินการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถทางสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด จำนวน 6 คน จากนั้น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาอยู่ในโครงการผลิตครูระบบปิด ของเขตภาคเหนือตอนล่าง ในปีการศึกษา 2561 และ 2563 จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรม M-Plus และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการผลิตครูระบบปิด จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 3 เป็นการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิดที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Paired sample t-test และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด ด้านความเป็นประโยชน์ โดยขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 เก็บข้อมูลกับนิสิตครูโครงการผลิตครูระบบเปิด จำนวน 16 คน นิสิตครูปกติ จำนวน 17 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิสิตครูโครงการผลิตครูระบบปิด จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิดมี 6 สมรรถนะย่อย ได้แก่ 1) สมรรถนะการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ 2) สมรรถนะการสร้างแรงบันดาลใจ และการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 3) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยี 4) สมรรถนะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 5) สมรรถนะการสร้างเครือข่ายจัดการศึกษา และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6) สมรรถนะการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณ และความเป็นพลเมือง โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 444.949 ที่มีองศาความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 399 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.0558 ดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.017 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.997 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบของ Tucker และ Lewis (TLI) เท่ากับ 0.995 และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1) วิธีการพัฒนาสมรรถนะฯ 2) ขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะฯ 3) บทบาทของผู้พัฒนาสมรรถนะฯ และ 4) บทบาทของผู้ถูกพัฒนาสมรรถนะฯ 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ทิศทางพัฒนา (Input) องค์ประกอบที่ 2 แนวทางการพัฒนา (Transformation) และองค์ประกอบที่ 3 ผลการพัฒนา (Output / Results) ซึ่งมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด โดยทดลองบางสมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านการประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้กับนิสิตครูโครงการผลิตครูระบบปิด และนิสิตครูปกติ พบว่า นิสิตครูทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้ ความเข้าใจ และมีสมรรถนะด้านการประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ ดังกล่าว หลังการทดลองใช้รูปแบบฯ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีผลงานกิจกรรม และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน มีการแสดงบทบาท และปฏิบัติงานผ่านกระบวนการ PLC ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติดี มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และเห็นว่าการจัดอบรมการพัฒนาสมรรถนะในภาพรวมบรรลุวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมาก 4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด พบว่า นิสิตครูโครงการผลิตครูระบบปิด นิสิตครูปกติ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิสิตครูโครงการผลิตครูระบบปิด ในภาพรวมมีความคิดเห็นว่ามีประโยชน์ ในภาพรวมระดับมาก | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | รูปแบบการพัฒนา | th |
dc.subject | สมรรถนะนิสิตครูระบบปิด | th |
dc.subject | Development model | en |
dc.subject | Student competency’s in the closed system | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูของโครงการผลิตครูระบบปิด | th |
dc.title | THE MODEL OF TEACHER’S COMPETENCY DEVELOPMENT FOR TEACHER PREPARATION IN CLOSED SYSTEM PROJECT | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62030982.pdf | 10.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.