Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSAKACHART WINITKRISADAen
dc.contributorสกชาติ วินิตกฤษฎาth
dc.contributor.advisorPanuwat Pakdeewongen
dc.contributor.advisorภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์th
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-11T02:30:33Z-
dc.date.available2023-01-11T02:30:33Z-
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5035-
dc.descriptionDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research were to: 1) study characteristics, current conditions, and problems of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region 2) present directions of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region 3) examine directions of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region. Qualitative research method was used and was divided into three stages; the first stage concerned characteristics, current conditions, and problems of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region through document inquiries, focus group discussion, and observation in areas. The second stage was related to designing and setting education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region. The third step involved examining directions of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region. The experts validated and confirmed the proposed policy in terms of its feasibility and suitability.   The findings revealed that:  1. Characterization current conditions and problems of education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region found that, 1) characteristics of education management of ethnic diverse schools in border areas originated from early childhood education in primary schools under the National Primary Education Commission (NPEC), Ministry of Education. While in the current basic education system, most schools along border and remote areas provide only primary school level. A few can provide middle school level. 2) current conditions of education management in the border areas consisted of equal opportunity to education, equality, the quality of education provided, and education management that does not cover everywhere. This included the lack of effective participation of school boards and also the lack of suitable Core Curriculum and local curriculums used in developing students’ performance to fit the schools and communities along the border’s context. 3) problems of education management contained education policy, supports and processes of education management in the school system, education provided by other organizations, and even students’ own and their family problems. These problems will be solved through cooperation from many relevant organizations that come together to develop education along the border to create stability for the nation in the future. 2. Designing and setting education management of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region consisted of 8 issues: 1) goals 2) background of the directions 3) principles and principles of direction 4) principles of action 5) implementation mechanisms 6) policy goals 7) characteristics of policies aimed at self-improvement 8) practical mechanisms and policy measures. 3. The evaluation of proposed policy for education management’s directions of ethnic diverse schools in border areas of the lower northern region in terms of feasibility and suitability was at the highest level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง 2) นำเสนอทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง 3) ตรวจสอบทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ลักษณะ สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง โดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาปรากฏการณ์จริงในพื้นที่ ใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง และขั้นตอนที่ 3 ประเมินทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง โดยการตรวจสอบและยืนยันจากผู้ทรงวุฒิ ในมิติความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำไปใช้ปฏิบัติ           ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้           1. การวิเคราะห์ลักษณะ สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง พบว่า 1) ลักษณะของการจัดการศึกษาในการศึกษาตามแนวชายแดนมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาในส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ยังคงมีเพียงระดับประถมศึกษา มีส่วนน้อยที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสถึงมัธยมตอนต้น 2) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาตามแนวชายแดน ได้แก่ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ความเสมอภาค คุณภาพทางการศึกษา และการจัดการศึกษาที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมโดยผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาที่ไม่มีคุณภาพมากพอ นอกจากนี้ในประเด็นหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งทางโรงเรียนใช้เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนานักเรียนของโรงเรียนเหล่านี้ ยังขาดความเหมาะสมในการพัฒนาให้สอดคล้องและร้อยรับกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนตามแนวชายแดน และ 3) ปัญหาการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านนโยบาย ปัญหาการสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ปัญหาการศึกษาที่จัดโดยองค์กรอื่นๆ ปัญหาตัวเด็กและครอบครัว ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่มาร่วมกันพัฒนาการศึกษาตามแนวชายแดน เพื่อสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนให้กับประเทศชาติต่อไปในอนาคต           2. การออกแบบและกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง ประกอบไปด้วย 8 ประเด็น ได้แก่ 1) เป้าหมาย 2) ความเป็นมาของทิศทาง 3) หลักคิดและหลักการของทิศทาง 4) หลักการปฏิบัติ 5) กลไกการนำไปปฏิบัติ 6) เป้าหมายเชิงนโยบาย 7) คุณลักษณะของนโยบายที่มุ่งก่อเกิดในตัวเด็ก 8) กลไกการทำงานเชิงปฏิบัติและมาตรการเชิงนโยบาย           3. ผลการประเมินข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทิศทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนภาคเหนือตอนล่าง ทั้งด้านความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำไปใช้ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectทิศทางการจัดการศึกษาth
dc.subjectโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์th
dc.subjectแนวชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือตอนล่างth
dc.subjectThe Directions of Educational Managementen
dc.subjectThe schools which multi-racist studentsen
dc.subjectWestern border of the Lower Northernen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleทิศทางการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตามแนวชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือตอนล่างth
dc.titleThe Directions of Educational Management in the Multiracial School on the border of the  Lower Northern Areaen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031201.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.