Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5032
Title: การพัฒนาหลักสูตรปรับกรอบความคิดแบบเติบโตในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู ตามทฤษฎีแห่งตนของดเว็ค
The Development of Curriculum for Changing the Growth Mindset in English Communicative Teaching of English Teachers Based on Dweck’s Self-Theory
Authors: NARAPORN SARODOM
นราภรณ์ สโรดม
Chaiwat Sutthirat
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
กรอบความคิดแบบเติบโต
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
Development a Training Curriculum
Growth Mindset
English Communicative Teaching
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to develop a training curriculum for changing the growth mindset in English communicative teaching of English teachers based on Dweck’s Self-Theory. There were four research steps: 1) studying the English teachers’ mindset of English communicative teaching and the guideline for changing mindset in English communicative teaching, 2) creating and checking the quality of the curriculum, 3) studying the results of using this curriculum, and 4) evaluating and improving the curriculum. The research sample was a group of 12 of primary English teachers. The research instruments were The English communicative teaching mindset assessment form, and the ability of English communicative teaching form. The experiment had for 60 hours. The statistics used for data analysis were  mean, standard deviation, t-test (One sample test), and content analysis for the qualitative data. The results of the research revealed that 1) The English teachers’ mindset in English communicative teaching was overall with an average score of 3.01; that means growth mindset and some fixed mindset level, and the guideline for changing mindset should apply the process of Self-Theory of Carol S. Dweck. The process of changing should be adjusted to cover all six characteristics of mindset. 2) The curriculum had components: background and importance, principles, objectives, structure, contents, activities, materials, and evaluation, 3) The results of the English teachers’ mindset had an overall was growth mindset and some fixed mindset level after the curriculum implementation higher than before, and the English teachers had score of the ability of English communicative teaching based on growth mindset was higher than the specified criteria (70%) and significantly at .01 level, and 4) The result of evaluating for using the curriculum had an overall of the teachers’ opinions were at the highest level (mean=4.76) and improvement of the curriculum was the structure of time, and the training model to be a blended model between the workshop and online
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรปรับกรอบความคิดแบบเติบโตในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู ตามทฤษฎีแห่งตนของดเว็ค  ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษากรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู และแนวทางการปรับกรอบความคิดแบบเติบโตในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบวัดกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู  และแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ตามกรอบความคิดแบบเติบโต  ดำเนินการทดลอง จำนวน 60 ชั่วโมง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ  t-test  แบบ One sample test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 3.01) อยู่ในระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและมีกรอบความคิดแบบยึดติดบางส่วน และมีแนวทางการปรับกรอบความคิด ผ่านขั้นตอนตามหลักการทฤษฎีแห่งตน ของ Carol S. Dweck  ให้ครอบคลุมทั้ง  6  คุณลักษณะ  โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่  ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เทคนิคทางจิตวิทยา และหลักการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมาประยุกต์ใช้  2) หลักสูตร ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรมการพัฒนา สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล  ซึ่งหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตร มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  3) ครูมีกรอบความคิดแบบเติบโตในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนการพัฒนา (ค่าเฉลี่ย= 2.91) และหลังพัฒนา (ค่าเฉลี่ย = 3.19) อยู่ในระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและมีแบบยึดติดบางส่วน และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ตามกรอบความคิดแบบเติบโตหลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ  4) ผลการประเมินหลักสูตรตามความคิดเห็นของครูต่อการใช้หลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.76) และมีการปรับปรุงหลักสูตร ด้านโครงสร้างเวลา และรูปแบบการพัฒนาให้เป็นแบบผสมผสาน
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5032
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61030594.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.