Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorJUMLONG CHAIYAen
dc.contributorจำลอง ไชยยาth
dc.contributor.advisorWichian Thamrongsotthisakulen
dc.contributor.advisorวิเชียร ธำรงโสตถิสกุลth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-11T02:30:32Z-
dc.date.available2023-01-11T02:30:32Z-
dc.date.issued2564en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5029-
dc.descriptionDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThis research aimed to develop the developmental supervision model combined with cognitive coaching to enhance the ability in managing language experience based on the balanced literacy approach for preschool teachers of Lua ethnic group. There were four research steps: Step 1) studying basic information for the development of supervision model, Step 2) creating and examining the quality of the supervision model, Step 3) exploring the results of using the supervision model in which the data source was 10 preschool teachers of Lua ethnic group students in the network of the Chalermprakiet School Group under Nan Primary Educational Service Area Office 2 who were chosen by purposive sampling. The research instruments were 1) the test examining their knowledge about managing language experience based on the concept of balanced literacy approach, 2) the skill assessment form for the design of plans for managing language experience based on the balanced literacy approach, and 3) the skill assessment form for managing language experience based on the balanced literacy approach, and Step 4)assessing of satisfaction of the supervision model. The research instrument was a satisfaction questionnaire regarding the use of the supervision model. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Wilcoxon Signed-Rank Test. The results are as follows.     1. Regarding the basic information for the development of the supervision model, it was found that 1) there were 10 schools with Lua preschool students, both small and medium sized schools. Most teachers had completed early childhood education, but they still lacked teaching experience. In addition, some people were not able to communicate in Lua language. Regarding the result of language assessment scores, most of the students still needed to improve, and the teachers needed to be supervised in terms of Early Childhood Curriculum A.D. 2017, Standard Thai, the design of the language experience plan, and skills for managing language experience, and 2) the key concept of supervision model development was developmental supervision, cognitive coaching, and the balanced literacy approach.   2. Regarding creating and examining the quality of the supervision model, it was found that the supervision model consisted of 2 elements: the supervision model and a manual on how to use the model of supervision. The supervision model had elements, that is, principles, objectives, contents, supervision process, and measurement and evaluation. There were 5 steps in the supervision process: Step 1) assessing condition and ability, Step 2) planning for supervision, Step 3) mentoring and cognitive coaching, Step 4) analyzing the results of supervision, and Step 5) evaluating the results of the assessment. The manual consisted of introduction, related concepts and theories, model of supervision, and supervision into practice. The results of evaluating the appropriateness of the supervision model and the manual revealed that the appropriateness of the supervision model was at the highest level (Average = 4.54, S.D.= 0.55), and the appropriateness of the manual was at the highest level (Average = 4.67, S.D.= 0.29). The result of the pilot study for using the supervision model showed that the supervision model had a potential to be used in practice. 3. Regarding the results of the use of the supervision model, it was found that the teachers who participated in using the supervision model had higher knowledge about managing language experience based on the balanced literacy approach after participating than before participating, significantly at .05 level. Also, these teachers had knowledge about managing language experience based on the balanced literacy approach after participating higher than the specified criteria (70%) and significantly at .05 level. In addition, they had a steadily increasing ability to manage language experience based on the balanced literacy approach from low level to moderate and high level, from relatively low level to a high level, and from the moderate level to a high level. 4. The results of the assessment of the satisfaction was at the highest level. (Average = 4.56, S.D. = 0.56).en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาการร่วมกับการชี้แนะทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์แบบสมดุลภาษา สำหรับครูผู้สอนเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เป็นการนำรูปแบบการนิเทศไปทดลองใช้ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมดุลภาษา  2) แบบประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมดุลภาษา และ 3) แบบประเมินทักษะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมดุลภาษา และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินการใช้รูปแบบการนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ พบว่า 1) สถานศึกษาที่มีเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะทั้ง 10 แห่ง มีทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง ครูส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย แต่ยังขาดประสบการณ์ในการสอน และครูบางคนไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาลัวะได้ นักเรียนส่วนใหญ่ยังมีผลการประเมินด้านภาษาอยู่ในระดับควรส่งเสริม และครูมีความต้องการได้รับการนิเทศในด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560  ภาษาไทยมาตรฐาน การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และทักษะการจัดประสบการณ์  และ 2) แนวคิดสำคัญในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ได้แก่ การนิเทศแบบพัฒนาการ การชี้แนะทางปัญญา และแนวคิดสมดุลภาษา     2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ รูปแบบการนิเทศและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ โดยรูปแบบการนิเทศมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการนิเทศ และการวัดและประเมินผล กระบวนการนิเทศ มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสภาพและความสามารถ ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 นิเทศติดตามและการชี้แนะทางปัญญา ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ผลการนิเทศ และขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลการนิเทศ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ ประกอบด้วย บทนำ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการนิเทศ และการนำการนิเทศสู่การปฏิบัติ  ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54, S.D.= 0.55) และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.67, S.D.= 0.29) ผลการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศพบว่า ครูที่เข้าร่วมการใช้รูปแบบการนิเทศมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมดุลภาษา หลังการเข้าร่วมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเข้าร่วมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์แบบสมดุลภาษาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง จากระดับต่ำพัฒนาไปอยู่ในระดับปานกลางและสูง ระดับค่อนข้างต่ำพัฒนาไปอยู่ในระดับสูง และระดับปานกลางพัฒนาไปอยู่ในระดับสูง 4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, S.D.= 0.56)th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectรูปแบบการนิเทศth
dc.subjectการนิเทศแบบพัฒนาการth
dc.subjectการชี้แนวทางปัญญาth
dc.subjectการจัดประสบการณ์แบบสมดุลภาษาth
dc.subjectเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะth
dc.subjectSupervision Modelen
dc.subjectDevelopmental Supervisionen
dc.subjectCognitive coachingen
dc.subjectManaging language experience based on the balanced literacy approachen
dc.subjectLua ethnic group childrenen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาการร่วมกับการชี้แนะทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์แบบสมดุลภาษาสำหรับครูผู้สอนเด็กปฐมวัย กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะth
dc.titleTHE DEVELOPMENT OF SUPERVISION MODEL BASED ON DEVELOPMENTAL SUPERVISION COMBINED WITH COGNITIVE COACHING APPROACH TO ENHANCING THE ABILITY IN MANAGING LANGUAGE EXPERIENCE BASED ON THE BALANCED LITERACY APPROACH FOR PRESCHOOL TEACHERS OF LUA ETHNIC GROUP CHILDRENen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61030266.pdf8.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.