Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5027
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KRITTIYA KATIYA | en |
dc.contributor | กฤติยา ขัติยะ | th |
dc.contributor.advisor | Wareerat Kaewurai | en |
dc.contributor.advisor | วารีรัตน์ แก้วอุไร | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2023-01-11T02:30:32Z | - |
dc.date.available | 2023-01-11T02:30:32Z | - |
dc.date.issued | 2565 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5027 | - |
dc.description | Doctor of Education (Ed.D.) | en |
dc.description | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were 1) to study basic information, 2) to create and examine the quality, 3) to explore the results of using the model, that is, 3.1) to study and compare the number and differences of changes of ability's levels in critical reflection thinking in teaching ability before and after participating in the activities according to the model, 3.2) to compare the abilities in critical reflection thinking in teaching ability before and after participating in the activities according to the model, and 4) to evaluate the model for enhancing critical reflection thinking in teaching ability through transformative learning theory and lessons study approach for novice teachers. This research was conducted by using the research and development (R&D) process which consisted of 4 steps. Step 1 was studying the basic information about the model development. Step 2 was creating and examining the quality of the model. Step 3 was implement the model. Step 4 was assessing the model. The model was put into a real trial with 17 Novice teachers under the Nan Primary Education Service Area Office 1 who were a sample group. The research instruments were a model development to enhance critical reflection thinking in teaching ability, a manual for using the model, a test for critical reflection thinking in teaching ability, and a semi-structured interview. The data were analyzed using percentage, mean (x̄), standard deviation (S.D.), Non Parametric Statistics Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test, and content analysis. The findings are as follows. 1.The organization of the activities was based on the principle of using groups to change, holistic change, mixing both thoughts and emotions, learning from teaching problems, understanding oneself, the characteristics of organized activities such as generating growing ideas and creating internal conflict and direct experience at a level that touched the heart. Regarding the activity techniques, it was revealed that the novice teacher's characteristics were being able to complete the curriculum, paying attention to teaching, having listening skills, and being honest with themselves. The characteristics of the activities were giving the teachers to have a tangible experience (i.e., understanding the community and reflection). The place for organizing the activities made them feel relaxed. For the method of organizing the activities, the activities were organized into 2 periods. The first period was a preparation before practice in real situations, and the second period was a practice in real situations. 2. The teacher development model developed by the researcher had 6 components: 1) principles of the model (4 items), 2) objectives, 3) content (7 units), 4) teacher development process (3 processes and 9 steps), namely Process 1. Preparing and building a development team (5 steps), Process /2. The integration of learning into change (2 steps), and Process 3. The exchange knowledge to create new perspectives (2 steps), 5) materials and learning sources, measurement and evaluation, The quality in terms of appropriateness was at a high level (x̄) = 4.30, S.D. = 0.39). The result of using the model revealed an Effectiveness Index (E.I.) 3. The results of using the model showed that 3.1) the novice teachers had a change in the ability in critical reflection thinking in teaching ability. It was divided into 2 groups, namely group 1 from level 1 to level 2 (7 teachers or 41.10%) and the second group, from level 2 to level 3 (10 teachers or 58.90%). and 3.2) the novice teachers who participated in the activities according to the model had significantly higher scores on the critical reflection thinking in teaching ability after the development than before development statistically at .05 level. 4. The results of the model evaluation in terms of input revealed that the activity planning was systematic. The processor was very knowledgeable and capable of carrying out activities very well. Location, materials, and time were readily conducive to organizing activities. The media and learning resources were readily available, diverse, and very useful for organizing activities. The participants liked and felt impressed. Regarding the process, it was found that the characteristics of the activities were appropriate and covered the development. The contents were clear and useful and had freedom to choose teaching methods. Timing was suitable, flexible, and well integrated. Tools, methods, and the criteria for measurement and evaluation were various, focusing on real-world assessment, and there were coordination and facilitation through a variety of methods and tools clearly. In terms of output, the novice teachers changed their own views. They needed a lesson plan, learned something new, opened their mind, were proud of themselves, and were able to choose and apply a variety of theories, principles, concepts, techniques, and teaching methods to use. They could described the teaching methods used in detail, identified weaknesses and strengths, and were able to analyze teaching methods that were relevant to their interests and learners' contexts by taking the teaching methods towards learners, society, morality, ethics, culture and politics into account. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาช้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน ได้แก่ 3.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูบรรจุใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน แบบวัดความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดกิจกรรม มีหลักการ คือ ใช้กลุ่มในการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวม ผสมผสานกัน ทั้งความคิดและอารมณ์ เรียนรู้จากปัญหาการสอน เข้าใจตนเอง ลักษณะกิจกรรมที่จัด เช่น การสร้างความคิดเติบโต การสร้างความขัดแย้งภายในและประสบการณ์ตรงในระดับที่สัมผัสใจ ส่วนเทคนิคการจัดกิจกรรม พบว่า คุณลักษณะครูบรรจุใหม่สามารถทำหลักสูตรได้ ใส่ใจออกแบบ การสอน มีทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง จริงใจต่อตัวเอง ลักษณะกิจกรรม คือ ให้ครูมีประสบการณ์รูปธรรม เข้าใจชุมชนและมีการสะท้อน สถานที่จัดกิจกรรมทำให้รู้สึกผ่อนคลาย วิธีการจัดกิจกรรม จัดกิจกรรม 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การเตรียมตัวก่อนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ช่วงที่ 2 การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 2. รูปแบบพัฒนาครูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนาครู ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการที่ 1 การเตรียมความพร้อมและสร้างทีมพัฒนา กระบวนการที่ 2 การรวมพลังเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และกระบวนการที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างทัศนะใหม่ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดผลและประเมินผล ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.30, S.D. = 0.39) และมีค่าดัชนีประสิทธิผล = 0.5714 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 3.1) ครูบรรจุใหม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จากระดับ 1 เป็นระดับ 2 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 41.10 และกลุ่มที่ 2 จากระดับ 2 เป็นระดับ 3 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 58.90 3.2) ครูบรรจุใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตามรูปแบบมีความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินรูปแบบ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นระบบทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัวกระบวนกรมีความรู้ ความสามารถและดำเนินกิจกรรมได้ดีมาก สำหรับสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และเวลามีความพร้อมและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมดีมากเช่นกัน ส่วนสื่อและแหล่งเรียนรู้มีความพร้อมหลากหลายและมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมพัฒนามาก ผู้เข้าร่วมพัฒนาจึงชอบและประทับใจ ด้านกระบวนการพบว่า ลักษณะของกิจกรรมมีความเหมาะสมและครอบคลุมในการพัฒนา ส่วนเนื้อหามีความชัดเจนมีประโยชน์และมีอิสระในการเลือกวิธีสอนดีมาก สำหรับเวลาเหมาะสม ยืดหยุ่นและนำไปบูรณาการได้ เครื่องมือ วิธีการ เกณฑ์ในการวัดและประเมินผลมีความหลากหลายและเน้นการประเมินตามสภาพจริง การประสานงานและอำนวยความสะดวกใช้วิธีการ เครื่องมือที่หลากหลายและชัดเจน ด้านผลผลิตพบว่า ครูบรรจุใหม่เปลี่ยนทัศนะของตัวเองต้องมีการวางแผนการสอน เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ และภาคภูมิใจในตัวเอง อีกทั้งสามารถเลือกและนำทฤษฎี หลักการ แนวคิด เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้ในการสอนโดยสามารถบอกรายละเอียดวิธีสอนที่ใช้ ระบุจุดอ่อน จุดแข็ง และเลือกวิธีสอนที่สอดคล้องกับความสนใจบริบทของผู้เรียนโดยคำนึงถึงวิธีสอนนั้นที่มีต่อผู้เรียน สังคม ด้านคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและการเมือง | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | รูปแบบเสริมสร้าง | th |
dc.subject | การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง | th |
dc.subject | การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน | th |
dc.subject | ความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอน | th |
dc.subject | ครูบรรจุใหม่ | th |
dc.subject | A model development to enhance | en |
dc.subject | Transformative learning | en |
dc.subject | Lesson study Critical reflection thinking in teaching ability | en |
dc.subject | Novice teachers | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน สำหรับครูบรรจุใหม่ | th |
dc.title | A MODEL DEVELOPMENT TO ENHANCE CRITICAL REFLECTION THINKING IN TEACHING ABILITY THROUGH TRANSFORMATIVE LEARNING THEORY AND LESSONS STUDY APPROACH FOR NOVICE TEACHERS | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61030143.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.