Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5017
Title: การพัฒนาแบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
The Development of Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade.
Authors: EKKAPAD HUENGSAISONG
เอกพัฒน์ เฮืองใสส่อง
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
แบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
การพัฒนาแบบทดสอบและแบบวัด
Innovation Literacy Technology
Innovation Literacy Technology Scale
The development of Test or Scale
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to development of Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade, which the research purposes were 1) To created Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade and 2) To validate structural of the Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade. Phase 1, Purposive Sampling were applied for 18 experts and Try Out group is 30 students from Princess Chulabhorn Science High School Loei, data were analyzed by Mean, Standard Deviation, Content Validity (Index of Item - Objective Congruence), Difficulty, Discrimination, and Reliability (Cronbach’s Alpha Coefficient). Phase 2, Multi - Stage Sampling were applied for 254 Twelfth Grade School Under Group of Princess Chulabhorn Science High School, data were analyzed by Mean, Standard Deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient and Confirm Factor Analysis analyzed by Chi-Square, Goodness of Fit Index, Adjusted Goodness of Fit Index, and Root Mean Error of Approximation.               The results of study were as follows:               1.  Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade constructed as 23 items, consists by 18 items of multiple choice, 6 items of situation scales, and 1 item of subjective test. Validity was ranged from 0.60 to 1.00, Difficulty was ranged from 0.23 to 0.67, Discrimination was ranged from 0.29 to 0.91, and Reliability of all was 0.71.             2. Structural of Technology Innovation Literacy Scale for Twelfth Grade was fit with empirical data. (X2 = 141.71, df = 164, p = 0.89515 GFI = 0.96, AGFI = 0.92, RMSEA = 0.00, RMR = 0.094, NFI = 0.99 and CFI = 1.00)
การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาแบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระยะที่ 1 แหล่งข้อมูลในการสร้างแบบวัดคือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งหมด 18 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลองใช้เครื่องมือคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item - Objective Congruence) ความยากง่าย (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) และความเที่ยง (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยจำนวน 254 คน ที่ได้จาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)  ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient), ค่าสถิติทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square),  ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (Goodness of Fit Index) ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index) และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความแตกต่างโดยประมาณ (Root Mean Error of Approximation)               ผลการวิจัยพบว่า   แบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถามแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 18 ข้อ ข้อคำถามเชิงสถานการณ์จำนวน 6 ข้อ และข้อสอบอัตนัยจำนวน 1 ข้อ รวมข้อคำถามทั้งหมดในแบบวัดทั้งฉบับจำนวน 23 ข้อ ข้อคำถามทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหา (ค่า  มีค่าตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00) ค่าความยากง่ายมีค่าอยู่ระหว่างค่อนข้างง่ายถึงค่อนข้างยาก (ค่า  มีค่าตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.67) และค่าอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ระหว่างจำแนกได้พอใช้ถึงจำแนกได้ดีมาก (ค่า  มีค่าตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.91) และความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าค่อนข้างสูง (Alpha มีค่าเท่ากับ 0.71)               2.  แบบวัดการรู้เรื่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง (X2 = 141.71, df = 164, p = 0.89515 GFI = 0.96, AGFI = 0.92, RMSEA = 0.00, RMR = 0.094, NFI = 0.99 and CFI = 1.00)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5017
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59031753.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.