Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5016
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorMETHAPORN INCOMEen
dc.contributorเมธาพร อิ่นคำth
dc.contributor.advisorAumporn Lincharoenen
dc.contributor.advisorเอื้อมพร หลินเจริญth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-11T02:30:29Z-
dc.date.available2023-01-11T02:30:29Z-
dc.date.issued2564en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5016-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research were: 1) to study the components and indicators of entrepreneurship among undergraduate students in higher education institutions; 2) to create a tool to measure entrepreneurship of undergraduate students in higher education institutions; 3) to establish normal criteria for entrepreneurship of undergraduate students in higher education institutions. The sample consisted of 2,900 undergraduate students in both public and private institutions of higher education, which were obtained by multistage randomization. A tool used was a measure of entrepreneurship among undergraduate students in higher education institutions. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, bulge, skew, percentile, normal standard score, and correlation coefficient. Exploratory component analysis and confirmatory component analysis were also performed. The results showed that 1. The results of a study on the components and indicators of entrepreneurship among undergraduate students in higher education institutions were divided into 2 parts as follows:   Part 1.1 The results of a study on the attribute and indicators of entrepreneurship among undergraduate students in higher education institutions obtained from the synthesis of documents and related research, interviews with successful entrepreneurs and people close to successful entrepreneurs. There were 16 entrepreneurial attribute and 35 sub-indicators. Part 1.2 The results of the study on the components and indicators of entrepreneurship by exploratory factor analysis In this section, a 5-level rating scale was used to measure entrepreneurship, divided into 16 aspects and 69 questions. It was found that the discriminant power of the model when analyzed using the correlation method between the scores for each item showed a classification power greater than 0.2 in every item. In terms of reliability, using Cronbach's alpha coefficient formula, it was found that the reliability of the whole version was 0.958, suggesting that the entrepreneurial model had a high level of reliability. The results of data validation prior to the exploratory composition analysis at KMO = .945 showed that the data used in the elemental analysis were very well suited, and Bartlett's Test of Sphericity with a Sig. of .000 indicated that the data were highly correlated and could be used for elemental analysis. The results of the exploratory factor analysis of the Orthogonal rotation operator model using the Varimax method by the criterion for determining the compositions that the component must have an i Gain (Eigenvalue) greater than 1 and consider the component's weight (Factor Loading) that is greater than 0.3 and that component should have 3 or more variables, resulting in an Eigen value greater than 1. As a result, a total of 7 components and 27 questions showed cumulative variance of 57.680%. 2. The results of creating a tool to measure entrepreneurship of undergraduate students in higher education institutions. This section used the Entrepreneurship Scale. The Situational questions were scored on a scale of 1-4, with each score being a Rubric Scoring consisting of 7 components and 21 behavioral indicators. There were 38 questions. Quality check of the Entrepreneurship Scale showed that the discriminant power of the model when analyzed using the correlation method between the scores for each item showed a classification power greater than 0.2 in every item. In terms of reliability, using Cronbach's alpha coefficient formula, it was found that the reliability of the whole version was 0.896, suggesting that the entrepreneurial model had a high level of reliability. In terms of structural validity analysis by confirmative factor analysis, it was found that the Entrepreneurship Scale of Undergraduate Students in Higher Education Institutions were consistent with the empirical data and structurally correct (Chi-square = 8.336, df = 11, p-value = 0.6830, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000 and SRMR = 0.006). 3. The normal criteria for evaluating entrepreneurship of undergraduate students in higher education institutions were divided into 4 levels: High, with standard T scores greater than 59 or higher, with raw scores of 132 or more; Rather high levels by standard T scores between 51 and 58, raw scores between 122 - 131; Rather low score, a standard T scores between 44 - 50, raw scores between 108 - 121; and Low score is standard T scores of less than 43 a raw score of less than 109 or from 108 points or less.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 2,900 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความโด่ง ความเบ้ เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐานทีปกติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1.1 ผลการศึกษาคุณลักษณะและตัวบ่งชี้ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และผู้ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ได้คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 16 ด้าน และ 35 ตัวบ่งชี้ย่อย   ส่วนที่ 1.2 ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นผู้ประกอบการ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ในส่วนนี้ใช้แบบวัดความเป็นผู้ประกอบการแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 16 ด้าน และมีข้อคำถาม 69 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการ พบว่า ค่าอำนาจจำแนกของแบบเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ มีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า 0.2 ทุกข้อ ด้านความเที่ยงตรวจสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.958 แสดงว่าแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการมีความเที่ยงในระดับสูง ผลการตรวจสอบข้อมูลก่อนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยค่า KMO = .945 แสดงว่า ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบมีเหมาะสมดีมาก และค่า Bartlett’s Test of Sphericity มีค่า Sig. ที่ .000 แสดงว่าข้อมูลมีความสัมพันธ์กันมากสามารถใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบได้ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการด้วยการหมุนแกนแบบมุมฉาก (Orthogonal rotation) ด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์ (Varimax) ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณาการจัดองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบนั้นต้องมีค่าไอเกน (Eigenvalue) มากกว่า 1 และพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่มีค่ามากกว่า 0.3 ขึ้นไป และในองค์ประกอบนั้นควรมีตัวแปรตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไปผลปรากฏว่ามีค่าไอเกนเกิน 1 ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ 27 ข้อคำถาม มีค่าความแปรปรวนสะสม ร้อยละ 57.680 2. ผลการสร้างเครื่องมือวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา ในส่วนนี้ใช้แบบวัดเชิงสถานการณ์ มีการให้ค ะแนนเท่ากับ 1 - 4 คะแนน โดยเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละข้อเป็นการให้คะแนนแบบรูบิค (Rubric Scoring) ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ และ 21 พฤติกรรมบ่งชี้ มีข้อคำถามจำนวน 38 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการ พบว่า ค่าอำนาจจำแนกของแบบเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ มีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า 0.2 ทุกข้อ ด้านความเที่ยงตรวจสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.896 แสดงว่าแบบวัดความเป็นผู้ประกอบการมีความเที่ยงในระดับสูง ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) พบว่า โมเดลความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square = 8.336, df = 11, ค่า p-value = 0.6830, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000 และ SRMR = 0.006)     3. เกณฑ์ปกติสำหรับประเมินความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับสูง มีคะแนนมาตรฐานทีปกติมากกว่า 59 ขึ้นไป มีคะแนนดิบตั้งแต่ 132 คะแนนขึ้นไป ระดับค่อนข้างสูง มีคะแนนมาตรฐานทีปกติ อยู่ระหว่าง 51 - 58 มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 122 - 131 คะแนน ระดับค่อนข้างต่ำ มีคะแนนมาตรฐานทีปกติ อยู่ระหว่าง 44 - 50 มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 108 - 121 คะแนน และระดับต่ำ มีคะแนนมาตรฐานทีน้อยกว่า 43 มีคะแนนดิบน้อยกว่า 109 หรือตั้งแต่ 108 คะแนนลงมาth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectแบบวัดth
dc.subjectเกณฑ์ปกติth
dc.subjectความเป็นผู้ประกอบการth
dc.subjectScaleen
dc.subjectNormsen
dc.subjectEntrepreneurshipen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาth
dc.titleThe Development of Entrepreneurship measuring tool for Undergraduate Students in Higher Education Institutionsen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59031241.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.