Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5009
Title: แนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่จากหลักธรรมนวโกวาท
THE PRINCIPLE OF LIVING IN THE MODERN SOCIETY WHICH BASED ON NOVAKOVADA
Authors: KRITSANA WANNAKLANG
กฤษณา วรรณกลาง
Panuwat Pakdeewong
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: หลักธรรมในนวโกวาท
การนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต
สังคมยุคดิสรัปชั่น
The NAVAKOVADA’s Principles
The Means of Living
Disruption Society
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The research objective were to; 1) Study and analyze the priniciple of Navakovada and 2) provide the MEANS of Living in Disruptive Society by mean of the principle of Navakovada. The Navagovada wrote by Somdet Phramahasamanachao Kromphraya Vajirananavarorasa, which recruited by 5 academic dignitaries, was the main document. Qualitative Research Technique; documentary research method; was employed. Content analysis and triangulation were as data analysis technique and report by analytic description. The research results find that: 1. 10 groups of the principle were found and all of them led to talk about the daily life’ behaviors, So the center of them was “Sa-ti”.           2. “Bojjhaṅga”; by mean of the meaning in “Bojjhaṅga” principle; was shown as the mainly principle of these means because persons must have been aware of the fact sin these society and it will shown that: to be aware of their self, to be aware of their mind, to be aware of principle of their life and to be aware of their action. So; having and maneuvering; of “Sati - Sumpachunya” and “Hiri- Oottuppa” with Bojjhaṅga ; were as mechanism of these Means in order to be aware of live or learn to live as; learn to know – learn to live- learn to flexible- learn to endurance; and ready or have ability to changes their life -with “Sati”. So; Their manipulation have based on the education which led by principle of Dhamma.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาจากหลักธรรมนวโกวาท และ 2) เสนอแนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่จากหลักธรรมนวโกวาท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เอกสาร ในลักษณะการสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาของหลักธรรมจากหนังสือนวโกวาทที่นิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาโดยความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน นำไปสู่การออกแบบแนวทางในการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่ หรือสังคมยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างผกผันและไม่หวนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้าในการตรวจสอบข้อมูล กับนำเสนอในลักษณะการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักธรรมของนวโกวาทมีอยู่ด้วยกัน 10 ธรรมบท แต่ละบทมีอรรถะของความหมายที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมและหลักในการดำรงชีวิตและการดำเนินชีวิต และมองว่า หัวใจสำคัญของหลักในการดำรงและดำเนินชีวิตจากนวโกวาทอยู่ที่คำว่า “สติ”           2. แนวทางการดำรงชีวิตอยู่ที่หลัก “โพชฌงค์” หรือการดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทันตัวเอง นั่นคือ “การรู้สภาพแห่งตน-รู้จิตของตน-รู้ธรรมในการรักษาตน-รู้การกระทำให้ตน” โดยมีแนวทางการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่จากหลักธรรมนวโกวาทอยู่ที่การดำเนินชีวิตที่ “มีและใช้” สติ สัมปชัญญะ กับ หิริ โอตัปปะ เป็นกลไกทุกกิจกรรมของการใช้ชีวิต ประจำวัน ในลักษณะของการตระหนักรู้เท่าทันเหตุปัจจัยใช้ปัญญาในการจัดการชีวิต และดำเนินชีวิตแบบ “เรียนให้รู้-ดูให้ทัน-ผันให้เป็น-เย็นให้ได้” อันเป็นการดำเนินชีวิตที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นอย่างรู้และมีสติ กับมีแนวทางในการนำหลักนวโกวาทลงสู่การดำรงและดำเนินชีวิตด้วยหลักโพชฌงค์ ด้วยการนำลงสู่สังคมในลักษณะการจัด “การศึกษาที่แท้จริง” ที่ทำให้ “ธรรม” เป็นหลักและแนวทางในการดำเนินชีวิตของผู้เรียนและหรือคนในสังคม
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5009
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58031952.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.