Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4462
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยา ของร้านยาที่ผ่านการตรวจ GPP ในจังหวัดชลบุรี 
Factors on drug store with good pharmacy practice to abide the criterion of the quality pharmacy at Chonburi province
Authors: PONGNUWAT SOMBUTPOOTHON
พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร
Assadang Polnok
อัษฎางค์ พลนอก
Naresuan University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Keywords: ทฤษฎีสองปัจจัย
แรงจูงใจ
ร้านยาคุณภาพ
GPP
Two-Factor Theory
Motivation Factor
Qualify Community Pharmacy
GPP
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: Objectives: The objectives of this mixed methods research were: 1) To analyze motivation and support for good pharmacy practice to abide by the criterion of the quality pharmacy, 2) To find guidelines for the promotion and development of conventional pharmacies in good pharmacy practice to abide by the criterion of the quality pharmacy. Research methodology: This research was quantitative research. Data were collected by a sample of 280 pharmacies and qualitative data were collected from 9 key informants. Data were analyzed by multiple regression analysis and qualitative data were analyzed by content analysis. Findings: The findings revealed that the factors of motivation and support for good pharmacy practice to abide by the criterion of the quality pharmacy at a statistically significant 0.05 level were working conditions and stability, management policy, career advancement, interpersonal relationships, work success and recognition. All variables were able to predict the outcome of a good pharmacy practice to abide by the criterion of the quality pharmacy at 49.30 percent (Adjusted R2 = 0.493, p < 0.05) The results of the study were summarized in 6 issues: 1) Changing attitudes and building a positive perspective on good pharmacy practice to abide by the criterion of the quality pharmacy. 2) Entrepreneurship incentives by supporting special privileges, audit fees, registration fees (CPE), discounts, and pharmacy association membership fees. 3) Be appreciated, published, and promoted when the pharmacy has passed the criterion of the quality pharmacy. 4) Public relations channels to create understanding among the public about the differences between quality pharmacies and general pharmacies. 5) Development of processes, procedures, and conditions through the participation of agencies and network partners. 6) Supporting necessary documents and forms as required in the benchmark for accuracy and help reduce the burden on pharmacies.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์: 1) เพื่อเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อในการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยา 2) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันในการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินเพื่อเป็นร้านยาคุณภาพ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นร้านขายยา จำนวน 280 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ สภาพการทำงานและความมั่นคง นโยบายการบริหาร ความก้าวหน้าในการประกอบกิจการ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสำเร็จในการทำงาน และการได้รับการยอมรับนับถือ ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยา ได้ร้อยละ 49.30 (Adjusted R2 = 0.493, p < 0.05) ผลการศึกษาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบัน สรุปได้ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนทัศนคติ สร้างมุมมองแนวคิดที่ดีต่อการปฎิบัติตามเกณฑ์การประเมินร้านยาคุณภาพ 2) การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ โดยสนับสนุนสิทธิพิเศษค่าธรรมเนียมในการตรวจประเมิน ค่าลงทะเบียนการเก็บหน่วยกิต (CPE) ส่วนลดจากบริษัทยาและค่าธรรมเนียมสมาชิกสมาคมร้านยา 3) การได้รับการยกย่องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เมื่อผ่านการประเมินคุณภาพร้านยา 4) การเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนถึงความแตกต่างของร้านยาคุณภาพและร้านยาทั่วไป 5) การพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนและเงื่อนไขที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่าย 6) การสนับสนุนช่วยเหลือเอกสาร แบบฟอร์มต่างๆ ที่จำเป็นตามที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อความถูกต้องและช่วยลดภาระให้กับร้านยา
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4462
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061543.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.