Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4449
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะการตรวจเต้านมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ Effect of a breast self-examination promotion program on breast self-examination skill and breast self-care behavior among risk group in Lomsak district, Phetchabun province. |
Authors: | SARANYA NGAMNIMIT ศรัญญา งามนิมิตร Chuleekorn Danyuthasilpe ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์ Naresuan University. Faculty of Nursing |
Keywords: | การส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านม ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สตรีกลุ่มเสี่ยง Promoting breast self-examination Breast self-care behavior Breast self-examination skill Women at risk |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this quasi-experimental study was to study the effect of breast self-examination program promoting breast self-examination skill and breast self-care behavior among women constituting a risk group in Lomsak district, Phetchabun province. The sample included 60 women considered to be in the target risk groups. Of these participants, 30 were assigned to the experimental group and 30 were assigned to the control group. The experimental group received a breast self-examination promotion program according to Pender's health promotion model while the control group received the usual information from the health promoting hospital for 12 weeks. The reliability of breast self-care behavior questionnaire by Cronbach's alpha coefficient was 0.77. The questionnaire of knowledge about breast self-examination was test using the KR-20, which showed a result of 0.7.
A questionnaire regarding breast self-examination skill was given with inter-rater reliability was 0.86. Data were analyzed by descriptive statistics, Repeated Measures Design, Independent t-test, and ANCOVA.The final study outcomes were:
1. The mean score for a breast self-examination skill of the experimental group at the 8th and 12th weeks were statistically significantly higher than before the intervention (p<.001)
2. The mean score for breast self-care behavior of the experimental group at the 8th and 12th weeks were statistically significantly higher than before the intervention (p<.001)
3. The mean score for breast self-examination skill of the experimental group at the 8th and 12th weeks were statistically significantly higher than the control group (p<.001)
4. The mean score for breast self-care behavior of the experimental group at the 8th and 12th weeks was statistically significantly higher than the control group (p<.001).
These results indicate that the breast self-examination promotion program achieved its purpose in helping to improve both the breast self-examination skill and breast self-care behavior of the women in the target risk group. การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งประยุกต์ใช้แบบจำลองส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 1) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านม มีค่า Cronbach's alpha coefficient = 0.77 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ค่า KR-20 = 0.7 3) แบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีค่าความเที่ยงแบบสังเกต (Interrater reliability) เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures Design), ทดสอบค่า Independent t-test และสถิติ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสัปดาห์ที่ 8 และหลังสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2. กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมสัปดาห์ที่ 8 และหลังสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 3. กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสัปดาห์ที่ 8 และหลังสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 4. กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมสัปดาห์ที่ 8 และสัดาห์ที่ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถส่งเสริมทั้งทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง |
Description: | Master of Nursing Science (M.N.S.) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4449 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62062747.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.