Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4448
Title: การศึกษาพฤติกรรมค่าความต้านทานการลื่นไถลของผิวทางที่มีส่วนผสมของวัสดุผิวทางเก่า
Skid resistance behavior of asphalt pavement produced from reclaimed asphalt pavement 
Authors: NATHANYAWAT SEDTHAYUTTHAPHONG
ณธัญวัชญ์ เศรษฐยุทธพงษ์
Korakod Nusit
กรกฎ นุสิทธิ์
Naresuan University. Faculty of Engineering
Keywords: ความต้านทานการลื่นไถล
วัสดุผิวทางเก่า
ความปลอดภัยของถนน
Skid Resistance
Reclaim Asphalt Pavement
Road Safety
Recycled Asphalt Concrete
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: Recently, the use of  recycling asphalt concrete is subject to many researches and interests, as it reduces the use of new resources in pavement construction.The literature reviews indicate the recent research focused on the performances and strength of recycling asphalt concrete. Accordingly, this research aims to evaluate the skid resistance and behavior of recycling asphalt concrete with different amount of reclaim asphalt pavement in the mixtures. The degradation of recycled asphalt concrete was simulated using an accelerated polishing machine to mimic road surface abrasion. The study found that led to the reduction in increasing the amount of RAP in the asphalt concrete mixture skid resistance. The asphalt concrete with 50% RAP gave a skid resistance value close to that obtained from the asphalt concrete with no RAP. The initial skid resistance of recycled asphalt concrete decreased with the drops in the penetration, softening point and ductility of asphalt cement. However, the changes in the properties blended binder contributed only small variations in the final skid resistances of the recycled asphalt concrete. The gradations of recycled hot mix asphalt correlated only with the final skid resistances. The aggregate gradations controlled the characteristics of the final skid resistance since the coated binder was partially polished off from the road surface at this stage.
ในปัจจุบัน มีงานวิจัยจำนวนมากให้ความสนใจในการนำวัสดุผิวทางเก่ามาใช้เป็นส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในการก่อสร้างผิวทาง งานวิจัยในอดีตมุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม สำหรับงานวิจัยที่ศึกษาด้านความปลอดภัยของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสมนั้นมีอย่างจำกัด ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรม และวิเคราะห์ค่าความต้านทานการลื่นไถลที่ส่งผลต่อค่าความปลอดภัยของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต จึงเป็นสาเหตุให้เกิดงานวิจัยเรื่องนี้ขึ้น สำหรับงานวิจัยนี้มีได้มีการศึกษาการพฤติกรรม และผลกระทบที่ส่งผลต่อค่าความต้านทานการลื่นไถลของแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม ในงานวิจัยนี้มีการทดสอบการเสื่อมสภาพของผิวทางด้วยเครื่องเร่งการขัดสีเพื่อจำลองสภาพการใช้งานเนื่องจากปริมาณการจราจร จากการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มวัสดุผิวทางเก่าในส่วนผสมของแอสฟัลต์คอนกรีตนั้น ส่งผลให้ค่าความต้านทานการลื่นไถลลดลง แต่เมื่อนำวัสดุผิวทางเก่าร้อยละ 50 มาใช้ในผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีวัสดุมวลรวมใหม่เป็นส่วนผสมเพียงอย่างเดียว จากการวิเคราะห์ผลกระทบที่ส่งผลต่อค่าความต้านทานการลื่นไถล ในช่วงเริ่มต้นพบว่ามีความสัมพันธ์มากกับปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์ และคุณสมบัติแอสฟัลต์ซีเมนต์ แต่มีความสัมพันธ์กับค่าความต้านทานการลื่นไถลในช่วงสุดท้ายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์ในผิวทางเก่าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความต้านทานการลื่นไถลในช่วงเริ่มต้นลดลง และสำหรับพารามิเตอร์  λ และ κ ซึ่งเป็นตัวแทนชุดข้อมูลขนาดคละของอัตราส่วนผสมนั้นมีความสัมพันธ์กับค่าความต้านทานการลื่นไถลในช่วงสุดท้ายเพียงเล็กน้อย
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4448
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062068.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.