Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4442
Title: ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะที่พิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของโลจิสติกส์ขาออกในอุตสาหกรรมน้ำตาล
GREEN VEHICLE ROUTING PROBLEM OF OUTBOUND LOGISTICS IN SUGAR INDUSTRY
Authors: THANATPORN SOMSAI
ธนัชพร สมใส
Pupong Pongcharoen
ภูพงษ์ พงษ์เจริญ
Naresuan University. Faculty of Engineering
Keywords: ปัญหาการจัดเส้นทางพาหนะที่พิจารณาประเด็นสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมน้ำตาล
ตัวแบบทางคณิตศาสตร์
Green vehicle routing problem
Sugar industry
Mathematical model
Issue Date: 2020
Publisher: Naresuan University
Abstract: The supply chain of Thailand sugar industry consists of harvesting the sugar cane, transporting the sugar cane to the factory, producing process after that the sugar product is distributed to the customer. Transporting sugar product to customers usually use heavy-duty truck which high rate of carbon dioxide emission. Due to the environmental situation affect every organization turn to focus on their process to improve the process in a sustainable way. Therefore, if Thailand has a policy to solve environmental problems by collecting carbon dioxide emissions will affect the total cost of sugar products. The mathematical model proposed is divided into 3 scenarios: 1) considering the route and the mode of transportation for exporting sugar product with the lowest carbon dioxide emission rates; 2) considering the route and the mode of transportation for exporting sugar product with the lowest carbon dioxide emission with warehouse capacity constraint; and 3) considering the route and mode of transportation for exporting sugar products with the lowest total costs including the cost of carbon dioxide emissions. The modes of transportation that are considered consist of road, water, and rail. Besides, the compared the total cost incurred in transported sugar product by rail with transported sugar product by road and road combined with water that performed in currently found that the cost of transported by rail lower than the transported sugar product by road and road combined with water  45.62% and 42.90%, respectively.
ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศไทย ประกอบไปด้วย เกษตรกรปลูกอ้อยหลังจากนั้นจึงขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงาน นำอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาล และหลังจากนั้นจะเป็นการกระจายผลิตภัณฑ์น้ำตาลออกจากโรงงานสู่ลูกค้า โดยการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลออกจากโรงงานเพื่อกระจายไปสู่ลูกค้า ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่ง โดยการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลมักจะใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง จึงทำให้การขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก เนื่องจาก ณ ปัจจุบันนี้ทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากประเทศไทยมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยการหันมาเก็บภาษีจากการปล่อยภาษีคาร์บอนไดออกไซด์ อาจส่งผลกระทบต่อโรงงานทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสำหรับการตัดสินใจเพื่อการวางแผนในระดับกลยุทธ์ สำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ได้นำเสนอแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1) กรณีที่พิจารณาเพื่อหาเส้นทางและรูปแบบการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำที่สุด 2) กรณีที่พิจารณาเพื่อหาเส้นทางและรูปแบบการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำที่สุด โดยพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขด้านความจุของคลังเก็บสินค้า และ 3) กรณีที่พิจารณาเพื่อหาเส้นทางและรูปแบบการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุด โดยพิจารณาต้นทุนสำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย โดยตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ถูกนำเสนอจะพิจารณารูปแบบการขนส่งทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน ประกอบไปด้วย รูปแบบการขนส่งทางถนน รูปแบบการขนส่งทางน้ำ และรูปแบบการขนส่งทางราง ผลเฉลยที่ได้รับ พบว่า การขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลจากโรงงานกรณีศึกษา ไปยังท่าเรือเพื่อทำการส่งออกไปยังประเทศปลายทาง ด้วยรูปแบบการขนส่งทางราง ส่งผลให้มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำที่สุด นอกเหนือจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้นในการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาล สำหรับรูปแบบการขนส่งทางรางที่ได้รับจากผลเฉลย กับรูปแบบการขนส่งทางถนน และรูปแบบการขนส่งทางถนนร่วมกับรูปแบบการขนส่งทางน้ำ ที่โรงงานน้ำตาลกรณีศึกษาดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน พบว่า การขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลด้วยรูปแบบการขนส่งทางรางมีต้นทุนต่ำกว่าร้อยละ 45.62 และ 42.90 ตามลำดับ
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4442
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59061347.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.