Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4070
Title: | ผลของการใช้โปรแกรมหฐโยคะเพื่อส่งเสริมสมาธิในนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย The Effects of Hatha Yoga Program to Encourage the Concentration of Upper Primary School Students |
Authors: | THANYARAS SIRIKLINKHAE ธัญญารัศมิ์ ศิริกลิ่นแคฆ์ Pufa Savagpun ภูฟ้า เสวกพันธ์ Naresuan University. Faculty of Education |
Keywords: | หฐโยคะ สมาธิ โปรแกรม Hatha Yoga meditate program |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research was aim to compare the result of before and after using the hatha yoga program to encourage the concentration of upper primary school students between control and experimental group. The subject was 10 person grade 4 – 16, dependent variable was the hatha yoga program to encourage the concentration and independent variable was concentration. The hatha yoga program to encourage the concentration of upper primary school students was 8 lesson plan. Subject were participate in 60 minutes per day, 2 day per week; 8 weeks.
The research found that
1. to compare concentration score before experimental of control group at high level of low concentration (x̅) = 38.50; do not successful homework or not successful task (x̅) = 3.00. Behavior is often inaccurate or careless in tasks such as homework, and does not seem to be heard when spoken to. Organize work and activities without being and easily distracted (x̅) = 2.40. Score after experimental of control group still at high level of low concentration (x̅) = 38.50; do not successful homework or not successful task (x̅) = 3.00. Can't sit in place Like getting out of a seat in class or from somewhere That should be seated at high level and low of concentration.
2. to compare concentration score before experimental of cexperimental group at high level of low concentration (x̅) = 39.30; do not do so long task (x̅) = 3.00. Sit-free behavior Like getting out of a seat in class or from somewhere That should be seated (x̅) = 2.40. Score after experimental of experimental group at low level of high concentration (x̅) = 22.40; easy forget (x̅) = 2.00. Behavior that is always ready to move, as if "ingested" all the time. at low level and high of concentration (x̅) = 1.90.
3. to compare the mean score of concentration after the experiment of students studying in an experimental group and the control group of the experimental group of behavioral scores showing distracting symptoms during before and after the experiment (x̅) = 22.40 better than before (x̅) = 39.30 at .01 level Behavior scores showing distracting symptoms after trials between trial and control groups (x̅) = 38.50 after the experiment, the control group was higher than the total mean (x̅) = 22.40 after the experiment of the experimental group at .01 level. การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุม เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิก่อนและหลังการทดลอง ของนักเรียนกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิหลังการทดลอง ของนักเรียนเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่มีสภาวะสมาธิสั้นที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสะพานที่สาม ที่อยู่ในลักษณะที่ 1 ขาดสมาธิ และลักษณะที่ 2 ซนอยู่ไม่นิ่งแปรต้น คือโปรแกรมหฐโยคะจำนวน 8 แผน ตัวแปรตามสมาธิของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 60 นาที โดยการประเมิน สมาธิของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (pretest – postest design) วิเคราะห์ข้อมูลคำนวณค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนนสมาธิโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1 เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิก่อนและหลังการทดลอง ของนักเรียนกลุ่มควบคุมคะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิ ก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุมพบว่า โดยรวมมีอาการขาดสมาธิอยู่ในระดับมาก (x̅) = 38.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรม มักทําการบ้านไม่เสร็จ หรือทํางานที่ได้รับ มอบหมายไม่สําเร็จมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 3.00 และพฤติกรรมมักไม่ละเอียดรอบคอบหรือสะเพร่าในการ ทํางานต่าง ๆ เช่น การบ้าน ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลามีคนพูดด้วย จัดระเบียบงานและกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เป็น และวอกแวกง่าย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ (x̅) = 2.40 ตามลำดับ คะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมพบว่า โดยรวมมีอาการขาดสมาธิอยู่ในระดับมาก (x̅) = 38.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรม มักทําการบ้านไม่เสร็จ หรือทํางานที่ได้รับ มอบหมายไม่สําเร็จมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 3.00 และนั่งไม่ติดที่ ชอบลุกจากที่นั่งในชั้นเรียนหรือจากที่ ที่ควรจะนั่งเรียบร้อยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ (x̅) = 2.80 ตามลำดับ 2 เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิก่อนและหลังการทดลอง ของนักเรียนกลุ่มทดลองคะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิ ก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองพบว่า โดยรวมมีอาการขาดสมาธิอยู่ในระดับมาก (x̅) = 39.30 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรม ทําอะไรนาน ๆ ไม่ได้ (x̅) = 3.00 และพฤติกรรมนั่งไม่ติดที่ ชอบลุกจากที่นั่งในชั้นเรียนหรือจากที่ ที่ควรจะนั่งเรียบร้อยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ (x̅) = 2.40 ตามลำดับ คะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองพบว่า โดยรวมมีอาการขาดสมาธิอยู่ในระดับน้อย (x̅) = 22.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรม ขี้ลืม (x̅) = 2.00 และพฤติกรรมพร้อมจะเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เหมือน “ติดเครื่อง” อยู่ตลอดเวลามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ (x̅) = 1.90 ตามลำดับ 3 เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยค่าสมาธิหลังการทดลอง ของนักเรียนเรียนกลุ่มทดลอง และนักเรียนกลุ่มควบคุมคะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยรวม (x̅) = 22.40 หลังการทดลองต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม (x̅) = 39.30 ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนพฤติกรรมที่แสดงอาการขาดสมาธิหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยรวม (x̅) = 38.50 หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม (x̅) = 22.40 หลังการทดลองของกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4070 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62061283.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.