Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4068
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | NATTAKIT KEAWTHONG | en |
dc.contributor | ณัฐกิตติ์ เขียวทอง | th |
dc.contributor.advisor | Atchara Sriphan | en |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา ศรีพันธ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-11-16T03:47:56Z | - |
dc.date.available | 2021-11-16T03:47:56Z | - |
dc.date.issued | 2564 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4068 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The research aimed to 1) study and analyze current situation of learning management about democracy and 2) create creative learning management by integrating arts and culture of folk songs (Choi) that are about democracy. It is qualitative research, and it was divided into 2 phases. The first phase was to study and analyze current situation of learning management about democracy, gather information from interviews. The key informants were 1) social studies teacher 2) ninth grade students, they were selected by purposive sampling, according to the criteria. The second phase was to create and do the experiment of using create creative learning management, gather information from interviews. The key informants were 1) folk song teacher 2) folk song artist 3) experts in folk song 4) experts in social science teaching 5) experts in study fields related to politics6) political activists. All were selected by purposive sampling, too. The creative learning management was used in target group which were 42 ninth-grade students from Watthaichumpol municipality school. The information after the experiment was collected using The research tools were 1) in-depth interview and focus group 2) Non-Participant Observation3) Participant Observation 4) draft of creative learning management 5) plans for creative learning 6) democracy learning assessment. The data was analyzed using qualitative analysis with analytic induction and divided the result accordingly to topics then validated by triangulation method. 1) The results of current situation of learning management about democracy were found that the learning focused on lectures and books which caused students’ boredom and lack of participation. It was not a learning management that focuses on actual practices to help contributing knowledge about democracy. Students were listeners and followed only the instructions. They lacked analyzing skill. Teachers’ teaching media were not various. Students had paper assignments and the assessments on them were not effective not well-rounded. Teachers were responsible for many roles, so they did not have time to develop various learning activities for students. 2) the result of creating and doing experiment of creative learning management by integrating arts and culture of folk songs (Choi) that are about democracy was found that, after facing problems of current teaching methods and interviewed experts to make a draft of the learning management and use it on target group, students had gained many as follow 1) students participated in working process and gave opinions which are fundamental principles of democracy 2) they understood the basic concept of democracy 3) they created presentation using knowledge about democracy learned from Choi with creativity and tangibility 4) student seemed interested in learning more about democracy. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่องประชาธิปไตย และ 2) เพื่อสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์โดยบูรณาการการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน(เพลงฉ่อย) ในวิชาสังคมศึกษาเรื่องประชาธิปไตย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งการศึกษาข้อมูลเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประชาธิปไตย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) ครูผู้สอนสังคม 2) นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ด้วยการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และระยะที่ 2 การสร้างและทดลองใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) ครูผู้สอนเพลงพื้นบ้านในสถานศึกษา 2) ศิลปินเพลงพื้นบ้าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นบ้าน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา 5) ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชารัฐศาสตร์ 6) นักจัดกิจกรรมทางการเมือง ด้วยการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล(ดำรงประชาสรรค์) จำนวน 42 คน โดยเก็บข้อมูลหลังการทดลองใช้ด้วยการประเมินผลการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม 2) แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) ร่างกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 5) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินผลการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย โดยวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป นำข้อมูลทีได้จากการศึกษามาจำแนกตามประเด็นทีกำหนด ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประชาธิปไตย พบว่า มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นไปที่การบรรยาย สอนตามหนังสือ ส่งผลให้นักเรียนเบื่อหน่ายกับการเรียนและไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติที่จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ฟังและทำตามครูผู้สอน ทำให้ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ อีกทั้งครูยังใช้สื่อการสอนที่ไม่หลากหลายเน้นให้นักเรียนทำใบงาน การวัดผลประเมินผลก็ไม่มีประสิทธิภาพไม่รอบด้าน เน้นการวัดความรู้ความจำจากแบบทดสอบเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งภาระงานเอกสารอื่นๆ ของครูที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมากจึงไม่มีเวลาในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้เรียน ผลการสร้างและทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์โดยบูรณาการการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน (เพลงฉ่อย) ในเรื่อง ประชาธิปไตย พบว่า จากสภาพปัญหาปัจจุบันของการสอนเรื่องประชาธิปไตยและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลมาสร้างเป็นร่างกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ดังนี้ 1) ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานและแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย 2) ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของหลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน 3) ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานในการนำเสนอโดยใช้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยผ่านเพลงฉ่อยได้อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ 4) ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเรื่องประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ | th |
dc.subject | การบูรณาการการเรียนรู้ | th |
dc.subject | ประชาธิปไตย | th |
dc.subject | ศิลปวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน (เพลงฉ่อย) | th |
dc.subject | creative learning management process | en |
dc.subject | learning integration | en |
dc.subject | democracy | en |
dc.subject | local art and culture learning (Choi folk song) | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์โดยบูรณาการการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน (เพลงฉ่อย) ในวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ประชาธิปไตย | th |
dc.title | Creative learning management process by integrating local art and culture learning (Choi folk song) with democracy subject of social studies | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62060620.pdf | 12.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.