Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4067
Title: แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์เสมือนจริงเรื่อง กลไกราคา ตลาด และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น      
Learning management guidelines using simulation based learning of price mechanism, market and economic problems for the improvement of analytical thinking ability of visually impaired students.  
Authors: KANYAPHAK PHUMYAEM
กัญญาภัค พุ่มแย้ม
Nattachet Pooncharoen
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: แนวทางการจัดการเรียนรู้
สถานการณ์เสมือนจริง
การคิดเชิงวิเคราะห์
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา
Learning management guidelines
Simulation-based learning
Analytical thinking
Visually impaired students
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this thesis is to study the present learning management on price mechanism and economic problems and the development of simulation-based learning management of the economics topics for of visually impaired students. Specifically, aim of this learning management is to enhance the analytical thinking capability of visually impaired students. Data were collected from 11 informants including 1) social studies teachers from mainstream integration schools 2) teachers in special education schools 3) secondary school students in mainstream integration schools who are visually impaired and 4) school directors. Scope of this research was separated into 6 parts including  1) teachers, 2) students, 3) content, 4) media and 5) learning activities. We collected data by observations and interviews and checked its reliability by triangular method. Based on these data, a learning approach was then developed.     From the research results, we found that 1. Present mainstream integration schools and special schools for student with disability had appropriate learning management in many ways but lacked media designed specifically for visually impaired students. Economics subject was also difficult for those students to understand. 2. The simulation-based learning on price mechanism, market and economic problems were appropriate to develop analytical thinking capability of visual impaired students. The learning approach we developed has the following 6 components: 1) Prepare teacher (coach) appropriately (C: Coach). Teacher should take a coaching role to assist students according to their potential and capability 2) Prepare a good learning environment (C: Context). Classroom should be adjusted to let students being familiar with the enviroment, creating positive interaction and expressing their opinions. 3) Prepare a right content ( C: Context). Teacher should select contents that are close to students and fit their potential. 4) Prepare simulated situation (S: Simulation). Teacher should set up simulated environment close to student’s daily life as much as possible and stimulate student’s thinking. 5) Prepare to support student skills (S: Student skill). support appreciation self esteem, analytical thinking and other skills and 6) Prepare well-designed media (M: Media). Teachers should emphasize media that can be touched or real media that create a better concrete learning experience.
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ เรื่องกลไกราคา ตลาด และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น และพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์เสมือนจริง เรื่อง กลไกราคา ตลาด และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) ครูสังคมศึกษาฯ ในโรงเรียนร่วม 2) ครูการศึกษาพิเศษ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่เรียนร่วม และ4) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการวิจัยออกเป็น 6 ด้าน คือ 1) ด้านครูผู้สอน 2) ด้านนักเรียนฯ 3) ด้านเนื้อหา 4) ด้านสื่อ ฯ 5) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และ6) ด้านสภาพแวดล้อมฯ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสารเพื่อให้ทราบถึงสภาพการจัดการเรียนรู้ แล้วดำเนินการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนร่วมและโรงเรียนเฉพาะความพิการมีสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในหลากหลายด้าน แต่ยังขาดสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น และเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ยากต่อการทำความเข้าใจของผู้เรียน 2. แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์เสมือนจริง เรื่อง กลไกราคา ตลาด และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้พัฒนาความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ทั้งนี้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ฯ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) การเตรียมครู (โค้ช) อย่างเหมาะสม (C: Coach) ครูมีบทบาทเป็นโค้ช คำนึงถึงศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน 2) การเตรียมสภาพแวดล้อม (C: Context) จัดสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความคุ้นชิน สร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น 3) การเตรียมเนื้อหาอย่างเหมาะสม (C: Content) เลือกเนื้อหาที่ใกล้ตัวผู้เรียนมากที่สุด และปรับให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน 4) การเตรียมสถานการณ์เสมือนจริงอย่างเหมาะสม (S: Simulation) กำหนดสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากที่สุด และกระตุ้นการคิด 5) การส่งเสริมทักษะของผู้เรียน (S: Student Skill) ส่งเสริมให้เห็นคุณค่า ยอมรับนับถือในตนเอง ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ และทักษะที่จำเป็น และ 6) การเตรียมสื่ออย่างเหมาะสม (M: Media) เน้นสื่อที่ให้ผู้เรียนได้สัมผัส หรือใช้สื่อของจริง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4067
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060613.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.