Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4064
Title: รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดชายแดนใต้: การวิจัยอิงการออกแบบ
A Model for Developing Research Competency for Learning Development of Teacher Students at a Multicultural Society the Southern Border Province: A Design-Based Research
Authors: POL LUANGRANGSEE
พล เหลืองรังษี
Krittayakan Topithak
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
พหุวัฒนธรรม
การวิจัยอิงการออกแบบ
Research for learning development
Multicultural
Design besed research
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this design-based study was to improve a model for developing research competency in order to enhance teacher students’ learning in a multicultural society; the southern border provinces.  The study consists of 4 phases: phase 1 was to study the condition of problems conditions and development guidelines in the development of research competency for the development of learning. Phase 2 was to create and assessed the quality of the model in the development of research competency for the development of learning. Phase 3 was to study a tryout’s results of a model in the development of research competency. Phase 4 was to evaluate and improve a model in the development of research competency for the development of learning. A total of 30 Bachelor of education students, Faculty of Education and Liberal Arts, Hatyai University, who enrolled in research methodology course in semester 2, 2020 were purposive selected to take part and try out a model in this study. The results of the study were demonstrated as follows: Firstly, the outcomes of the condition problems investigation and the development guidelines found that teacher students who practiced teaching could not even conduct a research or classroom research to improve learning. The main reason is the process of teaching paying more attention to theory than practice. Moreover, they lacked a good strategy or knowledge about learning management in a multicultural society. According to these reasons, there has been a barrier in management of learning especially in the class that learners had different backgrounds, such as religion beliefs, cultures, and traditions. Teachers should therefore teach the principles of multicultural education management along with teaching research for learning development. Secondly, a model for developing research competency for learning development of teacher students at a multicultural society in the southern border provinces aims at practical skills in the sense of research skills to improve learning in a multicultural society. To construct a model, research-based learning management together with learning management in a multicultural society were used. These two concepts comprises of 6components, objective, learning management, measurement and evaluation, results, and condition. There have been 4 main procedures in learning management: 1) study research content to improve and manage learning in a multicultural study, 2) self-study research process, 3) exchanging knowledge from research studies, and 4) practice writing a research proposal. Thirdly, after trying out a model, the result revealed that teacher students gained higher level of research competency than during and before piloting periods with the differences at the statistical level of .05. Finally, the outcomes of the assessment and enhancement of the development of research competency for the development of learning of teacher students in multicultural societies benefit the development of research competency of teacher students in the southern border provinces. Participants also demonstrated the highest level of satisfaction towards a model in respect of gaining the development of research competency to enhance teacher students’ learning.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดชายแดนใต้ แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาและประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบ คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิจัย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาพบว่า นักศึกษาครูที่ออกปฏิบัติการสอนไม่สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยในชั้นเรียนได้ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนเน้นด้านทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ และนักศึกษาครูไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ส่งผลให้เป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกันด้านความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ผู้สอนจึงควรสอนหลักการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมศึกษาควบคู่กับการสอนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดชายแดนใต้ เป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติด้านทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานร่วมกับหลักการจัดการเรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ผลลัพธ์ และเงื่อนไข โดยมีวิธีการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเรียนเนื้อหาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมศึกษา การเรียนรู้กระบวนการวิจัยด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนความรู้จากการศึกษารายงานการวิจัย และการฝึกปฏิบัติเขียนโครงร่างวิจัย 3)  นักศึกษาครูมีสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม หลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าระหว่างการทดลองใช้รูปแบบและก่อนการทดลองใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในสังคมพหุวัฒนธรรมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาครู จังหวัดชายแดนใต้ และมีความพึงพอใจในภาพรวมของรูปแบบระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4064
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62030111.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.