Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4060
Title: รูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ
THE MODEL OF ASSESSMENT-BASED INSTRUCTION FOR TEACHERS UNDER LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATION: USING ORDINARY NATIONAL EDUCATION TEST RESULT
Authors: WARUNYA MEEROD
วรัญญา มีรอด
Krittayakan Topithak
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐาน
Assessment Model
Assessment-Based Instruction
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to develop the Assessment-Based Instruction for teachers under Local Government Organizations: using Ordinary National Education Test result. The research methodology was divided into 4 stages, 1) to analyze washback of teachers among different contexts, 2) to create and monitor the quality of the Assessment-Based Instruction, 3) to study the results of using the Assessment-Based Instruction, 4) to evaluate and improve the learning management model through interview with 11 science teachers. The survey data were analyzed using mean and standard deviation, coefficient of variation (C.V.), Skewness, Kurtosis, t-test and Repeated Measure ANOVA The survey results revealed that teacher had an assessment-based instruction view and the teaching behaviors in both positive and negative washback were at high level. The learning management model was composed of 5 elements as follows: teacher roles, learning management development processes, assessment, critical success factors and monitoring. For learning management, there were 5 steps as follows: 1) dream, 2) define, 3) design, 4) develop, and 5) deliver. The expert-assessed validation form showed that the accuracy, feasibility and overall quality of the user manual were of a high level. After training, teachers had significantly higher knowledge about Assessment-based learning management and the evaluation of learning management behavior after using the model was significantly higher than the results of the first monitoring assessment at the .05 level, and the second time was significantly higher than the outcome of the first monitoring evaluation at the .05 level. Moreover, the evaluation and improvement of the found model could be used to design learning activities according to students’ differences and apply the results to adjust the learning management methods. Teachers known how to plan and design learning management to address the deficits of low-performing students and promote high-performing students.
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู  สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:   การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ การดำเนินการวิจัย  แบ่งเป็น  4  ขั้นตอน   1)   เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบคทั้งบวกและลบของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ   3)   เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู  สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:  การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ความเบ้ (Sk) และความโด่ง (Ku) สถิติทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนลักษณะของวอชแบคทางบวกและทางลบ อยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ  มีองค์ประกอบที่สำคัญ  6  องค์ประกอบ  คือ 1) หลักการและแนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) บทบาทของครู 4) กระบวนการวางแผนจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล 6) ปัจจัยและเงื่อนไขของความสำเร็จ โดยกระบวนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างฝัน (Dream) 2) คัดแยก (Define) 3) ออกแบบ (Design) 4) พัฒนา (Develop) 5) ส่งมอบ (Deliver) ผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และคุณภาพคู่มือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้รูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ พบว่า ครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูทั้ง 11 คน ได้ปฏิบัติจริงในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.64 และครูมีผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเมินเป็นฐาน ผลการประเมินติดตามครั้งที่ 3 สูงกว่าผลการประเมินติดตามในครั้งที่ 1 และผลการประเมินติดตามครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินติดตามในครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การใช้ผลการทดสอบระดับชาติ พบว่า รูปแบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่คำนึงถึงผลการประเมินระดับชาติของนักเรียนเป็นรายบุคคล เห็นความสำคัญของการวิเคราะห์ผู้เรียน จำแนกกลุ่มผู้เรียน โดยใช้ผลจากการประเมิน ทำให้เข้าใจผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ ทำให้ครูมีความเข้าใจในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในการแก้ไขจุดบกพร่องของนักเรียนที่อ่อน และส่งเสริมจุดแข็งของนักเรียนที่เก่ง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4060
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61030983.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.