Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorEAKKASIT HAKAEAWen
dc.contributorเอกสิษฐ์ หาแก้วth
dc.contributor.advisorArphat Tiaotrakulen
dc.contributor.advisorอาพัทธ์ เตียวตระกูลth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-11-16T03:47:54Z-
dc.date.available2021-11-16T03:47:54Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4054-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis purposes of this research were: 1) to study the management conditions and guidelines of the physical activity program, 2) to establish and examine the management model of physical activity program for students’ health promoting in the elderly school, 3) to performance experiment of the physical activity program management model for health promotion, and 4) to assess the physical activity program management model for students’ health promoting in the elderly school. There were 4 steps according to the purposes. The research instruments were the questionnaires, interview forms, a program model, and the assessment of feasibility and usefulness of a program management model. Suitability assessment form accuracy covered benefit and the outcomes were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.  The results of the research were as follows: 1. The management conditions of physical activity programs for students’ health promoting in the elderly school were at a high level (X Bar = 3.58, S.D. = 0.47).     A condition of physical activity program model was at average (X Bar = 2.88, S.D. = 0.40).  2. The management model of physical activity program for students' health promoting in the elderly school consists of 5 components, 1. the administrative resource, 2. Physical Activities Program for students’ health promoting, 3. the organization of physical activity with elderly students’ participation, 4 The management process which consists of planning, organizing, conducting and evaluating, and 5. output and outcomes. It was found that the management model was at high level in propriety (X Bar = 4.26, S.D. = 0.82) and an accuracy was at high level (X Bar = 4.17, S.D. = 0.83).  3. The results of the experiments that after 16 weeks of training, showed physical fitness were significantly improve at .05 level in elderly students.  4. The results of the of the assessment of the feasibility and usefulness in a physical activity program management model students’ health promotion in the elderly school showed that the feasibility of the model was at a high level (X Bar = 4.79, S.D. = 0.22) and the usefulness was great (X Bar = 4.61, S.D. = 0.35). ​In conclusion, the management model of physical activity program for students' health promoting in elderly school should be consisted of 5 major components: 1. the administrative resource, 2. physical activity program for students' health promoting. 3. the organization of physical activity with elderly students’ participation, 4. management process, and 5. output and outcomes. These major components will be a driving process for the elderly schools in the country and can be feasible and useful in accordance with the context of the area for students’ health promote in the elderly schools.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรเรียนผู้สูงอายุ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ แบบประเมินความเหมาะสม ความถูกต้องครอบคลุม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยแบบสอบถามและแบบประเมินฯ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีสภาพการจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X Bar  = 3.58, S.D. = 0.47) แต่พบว่า ด้านรูปแบบโปรแกรมกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนผู้สูงอายุ มีสภาพการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง (X Bar  = 2.88, S.D. = 0.40) 2. รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทรัพยากรบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 2 โปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน องค์ประกอบที่ 3 การจัดกิจกรรมทางกายนักเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การนำ (Leading) และการประเมินผล (Evaluating) และองค์ประกอบที่ 5 ผลผลิตและผลลัพธ์  และผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องครอบคลุม ของรูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X Bar  = 4.26, S.D. = 0.82) และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมาก (X Bar  = 4.17, S.D. = 0.83) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ 16 สัปดาห์ พบว่า สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ หลังการทดลอง พบว่า ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (X Bar  = 4.79, S.D. = 0.22) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (X Bar  = 4.61, S.D.= 0.35) สรุปผลการวิจัย รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. ทรัพยากรบริหารจัดการ  2. โปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 3. การจัดกิจกรรมทางกายนักเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม 4. กระบวนการจัดการ และ 5. ผลผลิตและผลลัพธ์ ที่จะเป็นกระบวนการขับเคลื่อนให้กับโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยปรับใช้จริงตามบริบทของพื้นที่เพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุต่อไปth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectการจัดการth
dc.subjectโปรแกรมกิจกรรมทางกายth
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth
dc.subjectนักเรียนผู้สูงอายุth
dc.subjectโรงเรียนผู้สูงอายุth
dc.subjectManagementen
dc.subjectPhysical activity programen
dc.subjectHealthy promotionen
dc.subjectElderly studentsen
dc.subjectElderly schoolen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleรูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุth
dc.titleThe management model of physical activity programfor students’ health promoting in the elderly schoolen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031738.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.