Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4053
Title: คุณค่าภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้: การวิเคราะห์และการพัฒนา
THE VALUES OF MPI ETHNIC GROUP INDIGENOUS KNOWLEDGE: ANALYSIS AND DEVELOPMENT
Authors: SUMINTRA SUWANNAKAD
สุมินตรา สุวรรณกาศ
Panuwat Pakdeewong
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: กลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ การวิเคราะห์คุณค่า ภูมิปัญญา
Mpi Ethnic group Analyze the value Knowledge
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research paper has the objectives of 1) to study the history, culture and folk wisdom of the Mpi ethnic group, 2) to analyze the value of Mpi folk wisdom 3) to present guidelines for further development of the value of the Mpi folk wisdom for use in community development through the educational process. Qualitative research methods of folkloric studies using techniques of researching the literature, in-depth interviews and field work were followed in undertaking this study. Content analysis techniques and triangular checking were the techniques used in analyzing the data. The results of this research were as follows: 1. There are approximately 1,642 Mpi people in Thailand. The Mpi ethnic group immigrated from the Sip Song Panna region of China. The reason for their moving from China is unknown. One group settled in Ban Sakoen, Tambol Yod, Amphoe Song Khwae, Nan Province. Another group settled in Ban Dong, Moo 4 and Moo 8, Tambol Suan Khuern, Amphoe Muang, Phrae Province. The Mpi people who live in Phrae Province call themselves "Mpi." Those who live in Nan Province refer to themselves as "Ko (Mpi)." The two groups are related to one another and continue to have communication between themselves.    2. The value of contemporary Mpi local wisdom can be divided into six categories. These are 1) agriculture, 2) industry and handicrafts, 3) management of natural resources and the environment, 4) language, 5) philosophy/religion and 6) nutrition. The activities of the Mpi ancestors that have been followed up to the present time are a stratagem reflecting the relationships between "people and nature" and "people and morals." 3. Guidelines for developing Mpi local wisdom are to be used for community development through the educational process in preserving their own cultural heritage, creating value and the expression of their identity within the relationships of a local setting for personal responsibility, community learning, socialization and cultural refinement in the form of “Local Museums."
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณค่าภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนผ่านกระบวนการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แนวคติชนวิทยา ด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบการศึกษาภาคสนาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เนื้อหา กับตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้  อพยพลงมาจากแคว้นสิบสองปันนา  ในประเทศจีน  ส่วนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน สาเหตุที่อพยพไม่มีใครทราบแน่ชัด บางส่วนอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านดง หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมีชาวอึมปี้ในประเทศไทย ประมาณ 1,642 คน การยอมรับในกลุ่มชาติพันธุ์พื้นที่บ้านดง ยอมรับว่ากลุ่มตน คือ  “อึมปี้”  ส่วนพื้นที่บ้านสะเกิน เข้าใจและยอมรับว่าตนเอง คือ “ก่อ (อึมปี้)” ทั้งนี้ กลุ่มคนทั้งสองกลุ่มเป็นเครือญาติเดียวกัน และมีการติดต่อกันอยู่ตลอด 2. คุณค่า/ภูมิปัญญาที่ยังปรากฏในปัจจุบัน สามารถแยกออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเกษตร 2) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 3) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) ด้านภาษา 5) ด้านปรัชญาศาสนา 6) ด้านโภชนาการ จากสิ่งที่บรรพบุรุษ  ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นกุศโลบายที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” กับ “ธรรมชาติ” และ “คน” กับ “คุณธรรม”    3. แนวทางการพัฒนาคุณค่าภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนผ่านกระบวนการศึกษา ในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมด้วยตนเอง การสร้างคุณค่าและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ในความสัมพันธ์ของระบบท้องถิ่น  เพื่อการดูแลตนเอง  การเรียนรู้ของชุมชนอึมปี้ โดยการถ่ายทอดและการขัดเกลาทางสังคมในรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์”
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4053
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031448.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.