Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4050
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL TECHNOLOGY ADMINISTRATION MODEL ACCORDING TO SCHOOL LIBRARY STANDARD FOR SMALL SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION.
Authors: CHAROCHINEE CHAIMIN
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์
Wiwat Meesuwan
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการ, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน, โรงเรียนขนาดเล็ก, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Model development Administration Educational Technology School library standard Small School The Office of the Basic Education Commission (OBEC)
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study the condition, composition, creation and endorsement of educational technology management models according to the school library standard framework under the Office of the Basic Education Commission. Methods of conducting research was proceeded through 3 phases: 1) The study of conditions and components of technology management for education. This was divided into two sub-steps: the synthesis of educational technology frameworks compared with the school library standard framework, and the preparation of questionnaires and interview forms. 2) Models construction and 3) Model endorsement. The sample group that answered the questionnaire were 1) an administrator of an educational institution, Teacher Librarians or the teacher who trained to be responsible for library work from 400 small elementary schools 2) 12 school administrators, teachers and librarians from 6 regions 3) 21 experts who assessing the model and 5 qualified experts who endorsement the model. The research instruments included table for content analysis, questionnaire, interview form and the assessment and endorsement of model form. This analyze the data by finding means and standard deviation. The results of the research were as follows: Condition of technology management for education in accordance with the framework school library standard criteria, from a total average of all levels of operations. The standard is at a high level. (mean = 3.55). The constituent elements of the synthesis of the educational technology framework (AECT) compared with the school library standardization framework and management processes, School administrators and teacher librarians assess that they can implement the first component, the Educational Technology Executive Committee. At the moderate level (mean = 2.89). The second component, Scope of Technology for Education. Can be performed at a moderate level (mean = 3.15), and the third component, the technology management process for planning studies. It can be performed at a high level (mean = 3.55), other areas at a moderate level. The model of technology management for education in accordance with the school library standard framework that was developed consisted of 3 components as follows: 1) the Educational Technology Executive Committee 2) Educational technology framework such as basic technology in audiovisual media for education. Information for education, electronic media and telecommunication and academic services; and 3) process of technology management for education; planning organization, control, coordination, leadership, evaluation and performance motivation. The qualified experts’ opinions are that the technology management model for education in accordance with the school library standard framework is that most appropriate and useful (mean = 4.80, 4.79) and possible to be applied at a large level (mean = 4.41).
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน เพื่อสร้างรูปแบบและรับรองรูปแบบของการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีการดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์ขอบข่ายเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (AECT) เปรียบเทียบกับกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ และกระบวนการบริหารจัดการ การจัดทำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูบรรณารักษ์หรือครูผู้รับผิดชอบดูแลห้องสมุด สังกัดโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 400 โรงเรียน สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูบรรณารักษ์ จำนวน 12 คน จาก 6 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ มีค่าเฉลี่ยรวมระดับการดำเนินงานรวมทุกมาตรฐานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.55) ส่วนองค์ประกอบที่กำหนดขึ้นจากการสังเคราะห์ขอบข่ายเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (AECT) เปรียบเทียบกับกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ และกระบวนการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูบรรณารักษ์ประเมินว่าสามารถดำเนินการตามองค์ประกอบที่ 1 คณะกรรมการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.89) องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สามารถดำเนินการได้ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.15) และองค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวางแผน สามารถดำเนินการได้ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.55) ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ (ค่าเฉลี่ย = 3.26) ด้านการควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 3.32) ด้านการประสานงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.23) ด้านการเป็นผู้นำ (ค่าเฉลี่ย = 3.46) ด้านการประเมินผล (ค่าเฉลี่ย = 3.19) และการด้านจูงใจในการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.46) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ และประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.73) และความเป็นประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย = 4.67) ส่วนความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43) ขั้นตอนที่ 3 การรับรองรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) คณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชากร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือตัวแทนครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูหรือบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรรมการสถานศึกษาหรือตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน และครูบรรณารักษ์หรือครูผู้รับผิดชอบดูแลห้องสมุด 2) ขอบข่ายงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้แก่ เทคโนโลยีพื้นฐานด้านสื่อโสตทัศน์ สื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา สารสนเทศเพื่อการศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และวิทยบริการ และ 3) กระบวนการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การควบคุม การประสานงาน การเป็นผู้นำ การประเมินผล และการจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.80, 4.79) และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4050
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60030380.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.