Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3936
Title: | สถานการณ์และความพร้อมของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ.2559 Situation and Readiness of Traditional Medicine Manufacturers to Fundamental Manufacturing Practices 2016 in Public Health Region 3 |
Authors: | THANATCHAPORN INTHO ธนัชพร อินโท Chanthonrat Sitthiworanan จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์ Naresuan University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Keywords: | หลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ, สถานที่ผลิตยาแผนโบราณ, หลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐาน, เขตสุขภาพที่ 3 fundamental manufacturing practices for traditional medicine traditional medicine manufactures fundamental manufacturing practices public health region 3 |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this study were to survey situation of traditional medicine manufacturing companies in Public Health Region 3, and assess readiness of entrepreneurs about their knowledge, length of time, investment budget, problem and barrier, to accord fundamental manufacturing practices 2016 (FMP), Thailand. This descriptive study was completed by 23 informed consent entrepreneurs of traditional medicine manufacturing companies in Public Health Region 3; Nakhon Sawan, Uthai Thani, Phichit, Kamphaeng Phet and Chai Nat. Data was collected from June to September 2019 by using developed questionnaire with interview, observance and assessment of traditional medicine manufactures. Data collection and analysis was classified in five categories, as the first category was quality management, the second category was personnel, the third category was premises and equipment, the forth category was documentation and the fifth category was sampling inspection. The finding was found that most of the manufacturing companies were evaluated with the score less than 25% in each category of FMP 2016. There was only one company had over 50 percent scores in all 5 categories; with the most mean score in the quality management category and the least mean score in documentation category. There were presented the length of time to achieve FMP 2016 implementation was more than five years and the most investment budget was for premises and equipment category. The problem and barrier of traditional medicine production, sales and government policy were stated in difficulties of FMP, less traditional medicine usage in new generation people and frequent changes of FMP, respectively. Traditional medicine manufactures in Public Health Region 3 were not readiness to follow FMP 2016 and, these would take more than five years to achieve the requirements. Expert procurement for FMP advisory were suggested to advocate the traditional medicine manufacturers and marketing channels should be supplied for the entrepreneurs to preserve Thai Traditional Medicine. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 และประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการด้านความรู้, เวลา, งบประมาณการลงทุน และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ. 2559 เป็นการศึกษาเชิงพรรณา กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, พิจิตร, กำแพงเพชร และชัยนาท ที่ผู้ประกอบการยินยอมให้เก็บข้อมูล จำนวน 23 แห่ง เก็บข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2562 ด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และประเมินสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกตามแบบประเมินเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 การบริหารคุณภาพ, หมวดที่ 2 บุคลากร, หมวดที่ 3 อาคารสถานที่และเครื่องมือ, หมวดที่ 4 การดำเนินการด้านเอกสาร และหมวดที่ 5 ตัวอย่างจัดเก็บ ผลการวิจัยพบว่า สถานที่ผลิตยาแผนโบราณคะแนนรวมทุกหมวดเท่ากับร้อยละ 27.42 หมวดที่คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ หมวดที่ 1 การบริหารคุณภาพ และน้อยที่สุด คือ หมวดที่ 4 การดำเนินการด้านเอกสาร เท่ากับร้อยละ 43.9 และ 3.79 ตามลำดับ มีสถานที่ผลิตยาแผนโบราณเพียง 1 แห่ง ที่คะแนนทุกหมวดมากกว่าร้อยละ 50 และสถานที่ผลิตยาต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ฯ หมวดที่ต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงมากที่สุดคือ อาคารสถานที่ ปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการผลิตยา คือ หลักเกณฑ์ฯ มีความยุ่งยาก ปัญหาและอุปสรรคด้านการจำหน่าย คือ คนรุ่นใหม่มีความนิยมใช้ยาแผนโบราณลดลง และด้านนโยบายจากรัฐบาล คือ หลักเกณฑ์สถานที่ผลิตยาแผนโบราณมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ดังนั้น สถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 จึงยังไม่พร้อมปฏิบัติตามเกณฑ์ฯ และจะใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 5 ปี การศึกษานี้เสนอแนะว่า สถานที่ผลิตยาแผนโบราณควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดหาแหล่งเงินทุน พัฒนานวัตกรรมการผลิตและสูตรตำรับยาแผนโบราณ จัดหาผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ตลอดจนส่งเสริมการตลาด และจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้ผู้ประกอบการ เพื่อให้ยาแผนโบราณของไทยคงอยู่ต่อไป |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3936 |
Appears in Collections: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60061186.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.