Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3383
Title: ผลของการฝึกเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพที่มีผลต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย
EFFECTS OF SERVING TRAINING IN COMBINATION WITHIMAGERY TRAINING ON ACCURACY OF SEPAK TAKRAW SERVING IN MALE SEPAK TAKRAW ATHLETES
Authors: SEKSIT TAWONSIRI
เศกสิทธิ์ ถาวรศิริ
Kajornsak Roonprapunta
ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: จินตภาพ
เซปักตะกร้อ
การเสิร์ฟ
ความแม่นยำ
Imagery
Speak Takraw
Serving
Accuracy
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to study the effects of serving training in combination with imagery training on accuracy of sepak takraw serving in male sepak takraw athletes before and after 8 weeks and to compare the result of accuracy on serving after 8 weeks between control group and experimental group. The population is 20 male sepak takraw athletes on bachelor’s degree of Thailand National Sports University Phetchabun Campus devided into 2 groups, 10 for each. The control group received only serving training. The experimental group were provided the serving training in combination with imagery training for 8 weeks. The instruments were the serving training in combination with imagery training and serving accuracy test. The data was analyzed by comparing the mean and standard deviation with Dependence t-test and Independence t-test statistics. The results revealed that: 1. The general information of the control group and the experimental group was not different. The control group had mean of age, height and weight for 20.15, 170.20 and 62.40. The experimental group had mean of age, height and weight for 20.30, 170.90 and 64.20 respectively. 2. The result of serving accuracy test in combination with imagery training of the control group and the experimental group after the 8th week of the training was better than before. For the mean scores of control group was 24.10, after 8 weeks it was 30.10 and the experimental group had 25.30 and 38.10 after 8 weeks. 3. The comparison of serving accuracy test in combination with imagery training between the control group and the experimental group after 8 weeks, the mean of the experimental group was higher than the control group with the statistical significance at the level of .05. The control group had the mean for 30.10 and the experimental group for 38.10.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพที่มีผลต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย ก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่  8 ของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบผลของความแม่นยำในการเสิร์ฟ หลังการฝึกสัปดาห์ที่  8 ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง  กลุ่มประชากรเป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ จำนวน 20 คน  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ10 คน  ได้แก่ กลุ่มควบคุมฝึกเสิร์ฟเพียงอย่างเดียว และกลุ่มทดลองฝึกเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การฝึกเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพ และแบบทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟ  แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบด้วยสถิติ Dependence t-test และ Independence t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มประชากร กลุ่มควบคุม ด้านอายุมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.15 ด้านส่วนสูงมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 170.20  ด้านน้ำหนักมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 62.40 และกลุ่มทดลอง ด้านอายุมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 20.30 ด้านส่วนสูงมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 170.90 และด้านน้ำหนักมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 64.20  พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกัน 2. ผลการทดสอบของความแม่นยำในการเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย กลุ่มควบคุม ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 24.10 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8  มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 30.10 และกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 25.30 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 38.10 พบว่า ทั้งกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีความแม่นยำในการเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพสูงกว่าก่อนการฝึก   3. เปรียบเทียบผลการทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟควบคู่กับการฝึกจินตภาพของนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 38.10 สูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3383
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062785.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.