Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3381
Title: ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
EFFECTS OF HIGHT INTENSITY INTERVAL TRAINING ON HEALTH RELATED PHYSICAL FITNESS IN OVERWEIGHT SECONDARY STUDENTS
Authors: WARANYA THONGBAI
วรัญญา ทองใบ
Phong-ek Suksai
พงษ์เอก สุขใส
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมออกกำลังกายหนักสลับเบา สุขสมรรถนะ ภาวะน้ำหนักเกิน
Hight intersity interval training program Health related physical fithess Overweight
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This action research aims to compare the effects of high-intensity interval training program on health-related physical fitness of junior high school overweight students before and after attending to experimental group and compare the health-related physical fitness of overweight students between an experimental group and control group of junior high school students before and after attending to the program. This sample used 30 students form Mathayom 1 (grade 7) in academic year 2020 of Naresuan University Secondary Demonstration School, Phitsanulok. The sample was selected by using the purposive sampling method that divided into two groups: 15 students were experimental group who used the high-intensity interval training program and 15 students were control group who exercised normally. The tools in this research were the physical activity program and satisfaction survey. The high-intensity interval training program spent 8 weeks, 3 days per week, using daily exercises in the program. During the experiment, the researcher collects variable data of health – related physical fitness, examines students’ physical fitness before and after attending the program. The statistics are used in the analysis after the experiment that are mean, standard deviation, dependent t-test and independent t-test. The findings of this research reveal that after 8 weeks of junior high school overweight students attending to the high-intensity interval training program, the results of the comparison between mean and standard deviation of body mass index (BMI), flexibility, 30 seconds push-ups, 60 seconds sit-ups and 3 minutes step up and down are different at the .05 level of significance. The results of the comparison between mean and standard deviation of health-related physical fitness of the experimental group and the control group after attending to the different program for 8 weeks found that the body mass index (BMI), flexibility, 30 seconds push-ups, 60 seconds sit-ups and 3 minutes step up and down are different at the .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยเลือกจากเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความสมัครใจโดยวิธีเลือกแบบการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน โดยออกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา และกลุ่มควบคุม  จำนวน  15  คน  ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันตามปกติ โดยทำการใช้โปรแกรมฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการใช้โปรแกรม จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (t-test Independent) และภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสุขสมรรถนะของกลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรมออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา 8 สัปดาห์ มีค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกาย ยืนยกเข่าขึ้น-ลง 3 นาที ความอ่อนตัว ดันพื้น 30 วินาที และลุก-นั่ง 60 วินาที แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการทดสอบสุขสมรรถนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของกลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน  8  สัปดาห์  ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ค่าดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว ดันพื้น 30 วินาที ลุก-นั่ง 60 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3381
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061542.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.