Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3376
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู
An Instructional Model Development Based on Social Constructivism and Authentic Learning Approaches to Enhance Differentiated Instruction Ability for Student Teachers
Authors: WALIDA OUNRAUN
วลิดา อุ่นเรือน
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล, ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
Instructional Model / Differentiated Instruction Ability /Social Constructivism / Authentic Learning
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to 1) study approaches to develop an instructional model, 2) develop and assess the quality of an instructional model, and 3) study the results of using an instructional model by 3.1) comparing students’ differentiated instruction ability after instructional model implementation with 70% criterion, and 3.2) studying the differentiated instruction ability for student teachers during an instructional model implementation. The samples consisted of 27 students of the Bachelor of Education Program, Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University selected by purposive sampling techniques. The instruments included 1) an instructional model based on Social Constructivism and Authentic Learning Approaches, 2) a differentiated instruction ability assessment form and 3) fieldnotes. The data were statistically analyzed by mean, standared deviation, content analysis, and t-test one sample.           The results revealed as follows: 1) The learning process emphasized on organization of authentic learning activities in order for learners to construct knowledge through social interaction. The results also revealed that learning should focus on knowledge exchange and sharing in order for student teachers to fulfill and learn from each other. The teachers encouraged and challenged students to learn, and also motivated them to search and collaboratively construct new knowledge. 2) The instructional model consisted of four parts: Part 1,  the backgrounds of an instructional model, Part 2, five components of an instructional model including principles, objectives, content, learning activities, and measurement and evaluation, Part 3, application, and Part 4, outcomes on learners. The researchers synthesized learning activities into five steps: Step 1: studying to learn in authentic approaches, Step 2: researching for making solutions, Step 3: constructing knowledge for application, Step 4: exchanging new knowledge, and Step 5: evaluating learning outcomes. The results of instructional model evaluation revealed that the model was generally at a high level of appropriateness ( = 4.15, S.D. = 0.39), and the result of assess the effectiveness of learning activity was 75.62/76.09 which was higher than the stated criterion. 3.1 The result of comparing student teachers’ differentiated insrtruction ability with the stated criterion after instructional model implementation found that student teachers’ scores was at 85.45%, which was higher than the criterion with statistical significance at 0.5 level. 3.2 An observation revealed that student teachers are able carry out differentiated instruction effectively, work collaboratively. Students can organise learning activities using effective group techniques. Questions were used to encourage learning and sharing and fulfilling knowledge to one another. The organised a positive interaction environment which is relaxing for effective learning and can carry out effective assessment and evaluation.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ จำนวน 27 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t-test one sample)               ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นจัดกิจกรรมตามสภาพจริงให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดระหว่างผู้เรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้ให้แก่กันและกัน ผู้สอนกระตุ้นท้าทายให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การนำรูปแบบไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียน ผู้วิจัยสังเคราะห์ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1  ศึกษาเพื่อเรียนรู้ตามสภาพจริง ขั้นที่ 2 การค้นคว้าความรู้สู่การแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้สู่การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ขั้นที่ 5 ประเมินผลการเรียนรู้ โดยภาพรวมของผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.39) และผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 75.62/76.09 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3.1) คะแนนการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักศึกษาครูหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 85.45 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักศึกษาครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้เกิดความผ่อนคลายในการเรียนและสามารถประเมินผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3376
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031103.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.