Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3375
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PANUPHAN LAPRATTANATHONG | en |
dc.contributor | ภานุพันธ์ ลาภรัตนทอง | th |
dc.contributor.advisor | Phong-ek Suksai | en |
dc.contributor.advisor | พงษ์เอก สุขใส | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-09-07T03:26:21Z | - |
dc.date.available | 2021-09-07T03:26:21Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3375 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This research is a study and development using a combination method for collecting quantitative and qualitative data aiming to develop a physical activity management model for students of Rajamangala University of Technology. The specific objectives are as follows: 1) To study the factors and the need for physical activity management for students in Rajamangala University of Technology. 2) To create a physical activity management model for students at Rajamangala University of Technology. And 3) To evaluate the physical activity management model for students at Rajamangala University of Technology. The method of this study composes of 3 steps: 1) Studying the factors and needs of the physical activity management for students in Rajamangala University of Technology. The sample used in this research was 420 students of Rajamangala University of Technology by Stratified Random Sampling. The research instruments were questionnaires for factors related to physical activity behaviors. The data gained were analyzed by using Pearson's correlation coefficient and also the influence of predictive variables was analyzed by using multiple regression analysis methods and study the need for physical activity management by simple random sampling, namely, RMUTL, use a group discussion method and analyze data using content analysis. 2) Creating a physical activity management model for students at Rajamangala University of Technology and examine the suitability of the model with a focus group discussion of 9 persons. And 3) Evaluation of physical activity management patterns for students at Rajamangala University of Technology by taking a test of the opinions of executives and related practitioners. Statistics used to analyze data were mean and standard deviation. The research results were shown as follows; 1. Factors affecting the relationship and the need to manage physical activities were found that predisposing factors on knowledge, enabling factors on budget, and reinforcing factors on support within the university. There is no correlation with physical activity. In terms of predisposing factors on attitude, enabling factors on policy, enabling factors on man, enabling factors on materials, reinforcing factors on personnel support, reinforcing factors on external support or motivation, reinforcing factors on relationship and network was significantly correlated with physical activity behavior at .01 levels. The results of the analysis of the influence of predictive parameters on the management of physical activity showed that predisposing factors on knowledge, predisposing factors on attitude, enabling factors on policy, enabling factors on budget, enabling factors on man, enabling factors on materials, reinforcing factors on support within the university, relationship and network were statistically significant at the .05 level, with all variables describing at 29.10% of the physical activity behavior (R2 = .291) and the need for the physical activity management was found that the need for physical activity consisted of three components: 1) input, 2) process, and 3) output. 2. The created physical activity management model for students at Rajamangala University of Technology consists of 4 components: 1) Input factors consisted of predisposing factors knowledge, attitude; enabling factors policy, budget, man, materials; reinforcing factors support within the university, relationship and network. 2) The process consists of planning, organizing, leading, and evaluating. 3) Student productivity, physical politeness, and mind better; and 4) the environment where is suitable for doing activities and participating of the personnel and students at university. 3. The assessment of the physical activity management model for students at Rajamangala University of Technology was a practical possibility and the benefits of the model were at a high level (X-Bar = 3.89) and (X-Bar = 4.22) respectively. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาใช้วิธีการผสมผสานในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาปัจจัย และความต้องการในการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัจจัย และความต้องการในการจัดการกิจกรรมทางกาย สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 420 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรทำนาย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และ ศึกษาความต้องการในการจัดการกิจกรรมทางกาย โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกายสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินรูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยการทำแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ และความต้องการจัดการกิจกรรมทางกาย พบว่า ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกิจกรรมทางกาย ปัจจัยเอื้อ ด้านเงิน งบประมาณ ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกาย ส่วนในด้านปัจจัยนำทัศนคติ ปัจจัยเอื้อด้านนโยบาย ปัจจัยเอื้อด้านบุคลากร ปัจจัยเอื้อด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนจากบุคลากร ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนจากภายนอก หรือ แรงจูงใจ ปัจจัยเสริมด้านความสัมพันธ์ และเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรพยากรณ์ที่มีผลต่อการจัดการกิจกรรมทางกาย พบว่า ปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยนำด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อด้านนโยบาย ปัจจัยเอื้อด้านงบประมาณ ปัจจัยเอื้อด้านบุคลากร ปัจจัยเอื้อด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยเสริมด้านสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย ปัจจัยเสริมด้านความสัมพันธ์ และเครือข่าย มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย ได้ร้อยละ 29.1 (R2 = .291) และ ผลการศึกษาความต้องการ ในการจัดการกิจกรรมทางกาย พบว่า ความต้องการในการจัดกิจกรรมทางกาย ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ และ 3) ผลผลิต 2. รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบไปด้วย ปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยนำด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อด้านนโยบาย ปัจจัยเอื้อด้านงบประมาณ ปัจจัยเอื้อด้านบุคลากร ปัจจัยเอื้อด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยเสริมด้านสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย ปัจจัยเสริมด้านเครือข่าย และความสัมพันธ์ 2) กระบวนการ ประกอบไปด้วย การวางแผน การจัดการ การนำ และการประเมิน 3) ผลผลิต นักศึกษามีสุภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น และ 4) สิ่งแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม และการมีส่วนร่วมของบุคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 3. การประเมินรูปแบบจัดการกิจกรรมทางกาย สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติ และความมีประโยชน์ของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (X-Bar = 3.89) และ (X-Bar = 4.22) ตามลำดับ | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย | th |
dc.subject | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล | th |
dc.subject | Physical Activity Management Model | en |
dc.subject | Rajamangala University of Teachnology | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | รูปแบบการจัดการกิจกรรมทางกาย สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล | th |
dc.title | PHYSICAL ACTIVITY MANAGEMENT MODEL, FOR STUDENTS OF RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59031180.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.