Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3374
Title: การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
THE DEVELOPMENT OF MULTILEVEL STRUCTURAL EQUATION MODEL OF BASIC EDUCATION STUDENTS’ ACADEMIC MINDSET
Authors: KAWEEPHAT CHAWCHAWNA
กวีภัทร ฉาวชาวนา
Pakorn Prachanban
ปกรณ์ ประจันบาน
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ตัวชี้วัด กรอบความคิดทางวิชาการ กรอบความคิด
Indicators Academic Mindset Mindset
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research were 1) to develop a measurement model of academic mindset for students under Office of the Basic Education Commission and 2) to develop and validate a multilevel structural equation model of factors affecting academic mindset for students under Office of the Basic Education Commission. The research was conducted through multi-stage random sampling which the population and samples groups of the study were 60 teachers and 1,975 grade 9 students under Office of the Basic Education Commission. The tools used for collecting data consisted of the 5 rating scale questionnaires. Statistical analyses process of the frequency distributions, percentage, mean, standard deviation and coefficient of correlation by statistical package. The research findings were as follows: 1. A measurement model of academic mindset for students under Office of the Basic Education Commission developed are consistent with empirical data. The results of measurement model of academic mindset for students found there was 5 factors and 11 indicators. And 5 factors of 1) belonging in academic community, 2) improve ability and intelligence through effort, 3) confidence in being successful, 4) having passion and purpose to learning and 5) sighting value and relevance to learning. Which all of factors and indicators are construct validity as shown by the model fit with the empirical data. 2. A multilevel structural equation model of factors affecting academic mindset for students under Office of the Basic Education Commission developed are construct validity as shown by the model fit with the empirical data (c2 = 168.051, df = 34, p = 0.11, CFI = 0.96, TLI = 0.92, RMSEA = 0.045, SRMR = 0.034). The percentages of the variance explained by individual-level and classroom-level variables were 23.10 and 6.700, respectively. The statistical analysis showed further that, the individual-level are socioeconomic status, authoritative parenting style and academic achievement and the classroom-level are caring and communications.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูประจำชั้นในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,975 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนและแบบประเมินปัจจัยที่อิทธิพลต่อการมีกรอบความคิดทางวิชาการโดยมีลักษณะแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. โมเดลการวัดกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลการวัดกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การมีส่วนร่วมในชุมชนทางวิชาการ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาสติปัญญาด้วยความพยายาม องค์ประกอบที่ 3 ความเชื่อมั่นในการประสบความสำเร็จ องค์ประกอบที่ 4 การมีแรงผลักและเป้าหมายในการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การเห็นคุณค่าและความเกี่ยวข้องในการเรียนรู้ ซึ่งทุกองค์ประกอบ และทุกตัวชี้วัดมีความตรงเชิงโครงสร้าง   2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ ค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 168.051 (p = 0.11) ที่องศาอิสระ เท่ากับ 34 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of fit index) ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 0.96 TLI เท่ากับ 0.92 RMSEA เท่ากับ 0.045 และ SRMR เท่ากับ 0.034 ทั้งนี้ ปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับห้องเรียนอธิบายกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนได้ร้อยละ 23.10 และ 6.700 ตามลำดับ โดยปัจจัยในระดับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01   ได้แก่   สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม   การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ส่วนปัจจัยระดับห้องเรียนที่มีอิทธิพลต่อกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การดูแล เอาใจใส่นักเรียนและการสื่อสาร
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3374
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58030269.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.