Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2565
Title: การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
THE CONSTRUCTION OF THE THAI PRONUNCIATION SKILL EXERCISES FOR THE ETHNIC LUA (PRAY) STUDENTS BY MULTIGRADE LEARNING.
Authors: SUNAREE FEEPAKPROE
สุนารี ฝีปากเพราะ
Brapaas Pengpoom
ประภาษ เพ็งพุ่ม
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย
นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร)
การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
The Thai pronunciation skill exercises
the ethnic Lua (Pray) students
Multigrade Learning
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aims to 1) construct the Thai pronunciation skill exercises for the ethnic Lua (Pray) students to be efficiency 80/80, 2) compare Thai pronunciation skill during Pretest and Posttest learning, 3) examine student’s satisfaction of learning for the ethnic Lua (Pray) students. The sample group was 14 ethnic Lua (Pray) students in primary school grades 1-6 at Ban So-Den Pattana School. Chiang Klang District, Nan Province, for the academic year 2020. The sample group was collected purposive sampling. The research instruments were 1) the Thai pronunciation skill exercises for the ethnic Lua (Pray) students, 2) lesson plan of the Thai pronunciation skill exercises for the ethnic Lua (Pray) students by Multigrade Learning, 3) the Thai pronunciation skill test for the ethnic Lua (Pray) students, 4) a satisfaction assessment form. The data analysis used mean, standard deviation, t-test dependent and efficiency proportion values (E1/E2). The research results found that: 1) The results of construction of the Thai pronunciation skill exercises for the ethnic Lua (Pray) students, the three levels were divided. Level 1 was a high quality (x̅ = 4.47, SD = 0.56), level 2 was the highest quality (x̅ = 4.53, SD = 0.53) and level 3 was the highest quality (x̅ = 4.59, S.D. = 0.53) and its efficiency (E1/E2) was 85.86/82.38, which is higher than 80/80 of criterion. 2) The average score of the results of comparing Thai pronunciation skill during Pretest and Posttest learning were 17.86 and 24.71, which the posttest score significantly is higher than pretest score at .05 level. 3) The overall satisfied of the result of the test on the student’s satisfaction of learning was the most satisfied (x̅ = 4.78, S.D. = 0.22).
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนบ้านส้อเด่นพัฒนา อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ (E1/E2) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ทั้ง 3 ระดับ แบ่งออกเป็น ระดับที่ 1 มีคุณภาพมาก (x̅ = 4.47, S.D. = 0.56) ระดับที่ 2 มีคุณภาพมากที่สุด (x̅ = 4.53, S.D. = 0.53) และระดับที่ 3 มีคุณภาพมากที่สุด (x̅ = 4.59, S.D. = 0.53) และมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.86/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้               2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.86 คะแนน และ 24.71 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̅ = 4.78, S.D. = 0.22) 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2565
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061672.pdf20.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.