Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorYOTIN KAISONen
dc.contributorโยธิน ไกรษรth
dc.contributor.advisorSongphop Khunmathuroten
dc.contributor.advisorทรงภพ ขุนมธุรสth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2021-06-08T01:59:11Z-
dc.date.available2021-06-08T01:59:11Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2564-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1) to create and find the efficiency of the electronic Tale book “Largesse” to promote reading interpretation by using TAI techniques learning management for Mathayom 3 students according to the standard criteria 80/80 2) to compare the learning achievement before and after 3) to study the group behavior of students during their studies. Which is carried out according to 3-step research and development process; 1) Create and find effectiveness of electronic tale books 2) Compare academic achievement 3) Study student behavior during learning. The primary and secondary was students in Mathayom 3, Sam Ngam Chanupatham School, Academic Year 2020, Semester 2, total of 76 students. The sample group was 24 students in Mathayom 3/2, Sam Ngam Chanupatham School, Sam Ngam District, Phichit Province, Semester 2, Academic Year 2020, which were selected by Purpose Sampling by choosing a medium level classroom. According to the classroom divided by the level of the learners. The research instruments were; 1) an electronic tale book “Largesse” to promote reading interpretation for Mathayom 3 students 2) the learning management plan using the TAI method of cooperative learning management, along with the use of the electronic tale book “Largesse” to promote reading interpretation for students in Mathayom 3 3) Learning achievement test 4) Student group behavior observation form Data analysis using mean (x̄) standard deviation (S.D.) and dependent t-test. The results of the research revealed that; 1) The results of the creation of an electronic tale book “Largesse” to promote reading interpretation. Using TAI learning management for Mathayom 3 students, the quality was the highest (x̄ = 4.87, S.D. = 0.21) and was tested on the students. It was effective of 88.78 / 81.94, which higher than according to the standard criteria 80/80 specified. 2) Students who study with electronic tale book “Largesse” to promote reading interpretation. Using TAI learning management for Mathayom 3 students, comparing statistics before and after learning difference with statistical significance at the level of .05 3) Student group behavior assessment results during the study, using the electronic tale book “Largesse” to promote reading interpretation. Using TAI learning management for Mathayom 3 students overall at the best (x̄ = 4.92, S.D. = 0.16)en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียนในระหว่างการเรียน โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ซึ่งดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ศึกษาพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียนในระหว่างการเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 3 ห้องเรียน ทั้งหมด 76 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกห้องเรียนที่มีระดับปานกลาง ตามห้องเรียนที่แบ่งตามระดับของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ควบคู่กับการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการสร้างหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.21) และนำไปทดสอบกับนักเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.78/81.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียน ในระหว่างการเรียนโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด (x̄ = 4.92, S.D. = 0.16)th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์th
dc.subjectการอ่านตีความth
dc.subjectจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAIth
dc.subjectElectronic Tale Booken
dc.subjectReading Interpretationen
dc.subjectLearning Management with Team Assisted Individualization (TAI)en
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การให้ทาน” เพื่อส่งเสริมการอ่านตีความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3th
dc.titleELECTRONIC TALE BOOK “LARGESSE” TO PROMOTE READINGINTERPRETATION BY USING LEARNING MANAGEMENT WITH TEAMASSISTED INDIVIDUALIZATION (TAI) TECHNIQUE FOR MATTHAYOM 3 STUDENTSen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060491.pdf9.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.