Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1729
Title: | การสร้างทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา: พหุกรณีศึกษา Grounded Theory of Principal Leadership: The Multi-Cases Studies |
Authors: | THANYAMAI PRACHYAWUTTIRAT ธัญมัย ปรัชญาวุฒิรัตน์ Chalong Chatruprachewin ฉลอง ชาตรูประชีวิน Naresuan University. Faculty of Education |
Keywords: | ทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา Grounded Theory of Principal Leadership |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) To study the life history of the model principal case studies 2) To analyze the leadership characteristics of the school administrators who are the model leaders of the case studies 3) To analyze and find ways to build the theory of the foundation of the school administrators' leadership compare the similarities and differences of case studies 4) In order to build the grounded theory of principal leadership by using qualitative research methods multidimensional patterns for case studies.Focusing on the management behavior of 4 case studies
Using data collection from phenomena, the researchers enter the research field by revealing the true status and role. Introduce oneself to build relationships with the case study. Use observation methods and in-depth interviews. By using the semi-structured interview form and the field record in both interviews, case studies and those close to them were interviewed. Then analyzed with the method of classification or grouping the data, comparative analysis of events, analyze inductive summary and content analysis. Then build the groundedtheory with 5 steps as follows: 1) Identify relevant concepts 2) Definition of concepts 3) Create a proposal 4) Rank the relationship between the proposals 5) Create a diagram of the theory The results of this research are founding the leadership theory of principal as follows: “Leadership of school administrators In the performance of 4 areas (academic, budget, personnel and general administration), demonstrated by the leadership of the school administrators by acting as a self-sufficient, responsible, diligent, model, knowledgeable, sincere, understandable, in heart, ready to give opportunities. Build the power of participation, fusing networks, using technology, being fair, leading over leaders. Affecting the quality of the higher educational institutions, including raising the level of academic standards .Operations are transparent, ready for audits. Provide opportunities for personnel to receive continuous progress. Aiming to provide good service , clean, safe, love and care for students like children. Allowing students to find their own paths” การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติชีวิตของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบของกรณีศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำต้นแบบ กรณีศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการสร้างทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของกรณีศึกษา และ 4) เพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบแผนพหุกรณีศึกษา มุ่งศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานของกรณีศึกษา จำนวน 4 ราย กรณีศึกษาซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กรณีเด่น ใช้การเก็บข้อมูลจากปรากฏการณ์โดยผู้วิจัยเข้าไปในสนามวิจัยด้วยวิธีการเปิดเผยสถานภาพและบทบาทที่แท้จริงแนะนำตนเองสร้างสัมพันธภาพกับกรณีศึกษา ใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ประกอบกับการใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบบันทึกภาคสนาม ทั้งนี้ได้สัมภาษณ์ทั้งตัวกรณีศึกษาและผู้ใกล้ชิด จากนั้นวิเคราะห์ด้วยวิธีการจำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์วิเคราะห์สรุปอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสร้างทฤษฎีฐานราก ตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ระบุมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง 2) นิยามมโนทัศน์ 3) สร้างข้อเสนอ 4) จัดลำดับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเสนอ 5) สร้างแผนผังของทฤษฎี ผลของการวิจัยครั้งนี้ได้ทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในการปฏิบัติงาน 4 ด้าน (วิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป) แสดงออกให้เห็นจากลักษณะภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษาด้วยการปฏิบัติตน เป็นคนสมถะ พอเพียง มีความรับผิดชอบ ขยัน เป็นตัวแบบ รอบรู้ จริงใจ เข้าใจ ได้ใจ พร้อมให้โอกาส สร้างพลังแห่งการมีส่วนร่วม หลอมรวมเครือข่าย ใช้เทคโนโลยี มีความเที่ยงธรรมเป็นผู้นำเหนือผู้นำ ส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาที่สูงขึ้น อันประกอบด้วย การยกระดับมาตรฐานวิชาการ การปฏิบัติงานโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับความก้าวหน้าพัฒนาต่อเนื่อง มุ่งการให้บริการที่ดี มีความสะอาดปลอดภัย ให้ความรัก ใส่ใจเมตตาต่อนักเรียนเสมือนบุตร ทำให้นักเรียนค้นหาเส้นทางของตนเองได้ |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1729 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61030471.pdf | 9.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.