Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1550
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | NUNTAWAN PHUAPHAN | en |
dc.contributor | นันทวัน พัวพัน | th |
dc.contributor.advisor | Sirinapa Kijkuakul | en |
dc.contributor.advisor | สิรินภา กิจเกื้อกูล | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2020-10-27T07:41:50Z | - |
dc.date.available | 2020-10-27T07:41:50Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1550 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) | th |
dc.description.abstract | This research aimed to develop an innovative method course for fostering 54 pre-service science teachers’ technological pedagogical and content knowledge (TPACK). In addition, classroom observation was also used during pre-service science teacher practicum as follow-up case study to find out changes. The course activities were designed to emphasize on critical thinking, practice and reflection. Data were collected by using questionnaires, self-report of TPACK, semi-structured interviews, observation form, and lesson plans. The data analysis was done by using content analysis. For credibility of data triangulation. The results showed that the 32 pre-service teachers (59.25%) were worried that they did not have strong content knowledge would determine appropriate methods of teaching and the selection and utilization of technology. Accordingly, the course was modified by setting the content that pre-service teachers did not understand to be a practical topic in microteaching practicing. This resulted in that pre-service teachers had more accurate knowledge of the content. As field monitoring during the practicum, it was found that pre-service teachers could choose to use technologies such as PhET programs which suitably fitted with the chosen content and they also could design proper teaching methods that were in consistency with the context. This research results suggest that they need to check their content knowledge as priority before developing other competencies. As pre-service teachers have proper and correct content knowledge, they can integrate technology into their pedagogy and content knowledge. In addition, for teacher preparation programs, the focus should be placed on TPACK integration as core competency, which pre-service teachers can use for their science learning management in order to help students achieve the goals and be responsive to society. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งพัฒนารายวิชาการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 54 คน พร้อมติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเมื่อนักศึกษาออกปฏิบัติการสอนในภาคสนามเป็นกรณีศึกษา กิจกรรมในรายวิชาถูกออกแบบให้เน้นการคิดวิพากษ์ การฝึกปฏิบัติและการสะท้อนคิด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม แบบวัด TPACK แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง บันทึกสังเกตการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาจำนวน 32 คน ร้อยละ 59.25 มีความกังวลใจว่าตนเอง มีความรู้ด้านเนื้อหาไม่เพียงพอที่จะเลือกใช้วิธีสอนและเทคโนโลยีเหมาะสมกันได้ รายวิชาจึงนำเนื้อหาที่นักศึกษาไม่เข้าใจมาเป็นหัวข้อในการฝึกปฏิบัติ ช่วยให้นักศึกษา มีความรู้ในเนื้อหาถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อติดตามผลภาคสนาม พบว่า นักศึกษาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยี เช่น โปรแกรม PhET ได้เหมาะกับเนื้อหาและออกแบบวิธีสอนได้เหมาะสมกับบริบท ผู้วิจัยขอเสนอแนะว่า จำเป็นต้องตรวจสอบความรู้เนื้อหาก่อน หากนักศึกษามีความรู้ด้านเนื้อหาที่ถูกต้องก็จะสามารถผนวกเทคโนโลยีมาส่งเสริมเนื้อหาและวิธีสอนได้ดียิ่งขึ้น และควรกำหนดให้หลักสูตรพัฒนานักศึกษาครู เน้นกิจกรรมที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านเนื้อหา วิธีสอนและเทคโนโลยีเป็นสมรรถนะหลัก ที่นักศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายและตอบสนองต่อสังคม | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม | th |
dc.subject | ความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี | th |
dc.subject | นักศึกษาครู | th |
dc.subject | Critical Participatory Action Research | en |
dc.subject | Technological Pedagogical and Content Knowledge | en |
dc.subject | Pre-service Teachers | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | การพัฒนารายวิชาการสอนแนวใหม่ที่ส่งเสริมความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ : การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม | th |
dc.title | Development of an Innovative Methods Course Supporting Preservice Science Teachers’ Technological Pedagogical and Content Knowledge : A Critical Participatory Action Research | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60030625.pdf | 5.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.