Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1547
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ดาวฤกษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
THE DEVELOPMENT OF TEACHING AND LEARNING ACTIVITIES  USING OPEN APPROACH TO PROMOTE ANALYTICAL THINKING ABOUT STARS FOR  MATHAYOMSUKSA 6 STUDENTS
Authors: PHONGPETE HAUPAN
พงศ์พิชญ์ เฮ้าปาน
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การเรียนการสอนแบบเปิด,ดาวฤกษ์,การคิดวิเคราะห์
Open approach stsrs analytical thinking
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research is to 1) to create and find the effectiveness of teaching and learning activities by using open approach to enhance the ability to think about stars in an efficient manner according to 75/75 criteria. 2) The study the results of using educational activities by using open approach to promote the ability to think critically about stars, to compare the ability to think critically during before and after school and compare the ability in Critical thinking with 75 percent criterion 3) The study the students' satisfaction with organizing teaching and learning activities by using open approach to promote the ability to think critically about stars. The sample population  twelfth grade student subsombunwittayakhom school in the second semester of the academic year 2019. Total 1 classroom, 11 people using the technique of cluster Purposive  sampling.The research instruments were divided into three types. 1) The instruments for the experiment were six lesson plans using the  open approach to promote analytical thinking on stars. 2) Analytical ability test he statistics used for data analysis are mean, standard deviation, T-test for dependent samples. 3) A form to measure satisfaction with the basic statistics of mean and standard deviation was used. The results of the research revealed that 1) The teaching and learning activities using open methods. (Open method) to promote analytical thinking about stars for grade 6 students, there is a learning process Problems, learning and problem solving process by oneself, discussion process, conclusions and linked steps, and successful trial and expert 75.05 / 75.44 2) Analytical thinking ability grade student  were significantly higher than before learning at the .05 level and the analytical thinking ability was higher than the criteria of 75 percent without statistical significance at the level of .05. 3) The satisfaction of students who study by using open method (Open method) overall is at a high level
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ดาวฤกษ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75       2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับเกณฑ์ร้อยละ 75  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ดาวฤกษ์ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนซับสมบูรณ์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เรื่อง ดาวฤกษ์ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent samples) 3) แบบวัดความพึงพอใจใช้พื้นฐานหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ดาวฤกษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการนำเสนอปัญหา ขั้นการเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ขั้นอภิปรายผล และขั้นสรุปและเชื่อมโยงแนวคิด และเมื่อนำไปทดลองใช้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.05/75.44  2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach)โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1547
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58062260.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.