Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1531
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทองคำและบิทคอยน์รวมทั้งความสัมพันธ์แฝงระหว่างกัน
The Study of Factors that have Relationship with Gold and Bitcoin: The Endogenous Analysis
Authors: PIPHAT IMKONG
พิพัฒน์ อิ่มคง
Sampan Nettayanun
สัมพันธ์ เนตยานันท์
Naresuan University. Faculty of Business,Economics and Communications
Keywords: ทองคำ
บิทคอยน์
Gold
Bitcoin
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this study is to find factors that have a relationship with gold and bitcoin. It divides the group of independent variables into five groups: stock index, currency indices, commodity, treasury bills return, and the google trend search to see the overall demand. The study uses ordinary least squares regression (OLS) and three-stage least square (3SLS) to analyze endogenous variables. The OLS finds that the factors that have positive relationships with gold are silver spot, platinum spot , and Japanese Yen’s index. These variables are investment assets that provide good returns when the economy is growing. Therefore, they are a more attractive source of investment than gold at that time. The variables that have a negative relationship with gold are the US Dollar index and DAX index. DAX index has a positive relationship with Bitcoin. The DAX index is related to both gold and bitcoin.           The second method uses a three-stage least square regression. It finds that the variables that have a positive relationship with gold are silver spot, platinum spot, and Japanese Yen’s index. The variables that have a negative relationship with gold are the US Dollar index, which has different results from the first method. It finds that there are no variables that are associated with Bitcoin.
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทั้งทองคำและบิทคอยน์ รวมทั้งความสัมพันธ์แฝงระหว่างกัน โดยแบ่งตัวแปรอิสระที่นำมาศึกษาออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ กลุ่มดัชนีราคาหุ้น, กลุ่มอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์, กลุ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และกลุ่มการค้นหาคำในกูเกิล เทรนด์ เพื่อดูอุปสงค์โดยรวม  โดยข้อมูลทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบสมการถดถอยแบบกำลังสองน้อยสุด (OLS) และสมการถดถอยแบบกำลังสองน้อยสุด 3 ชั้น (3SLS) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แฝงระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาแบบวิธีแรกโดยใช้วิธีแบบกำลังสองน้อยสุด พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทองคำในเชิงบวกได้แก่ ราคาแร่โลหะเงิน, ราคาทองคำขาว, และดัชนีเงินเยนญี่ปุ่น ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ก็เป็นแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีในยามที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต จึงเป็นแหล่งที่น่าลงทุนมากกว่าทองคำในช่วงเวลานั้น ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับทองคำได้แก่ ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีราคาหุ้นเยอรมนี ทางด้านบิทคอยน์พบว่า ดัชนีหุ้นเยอรมนีมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับบิทคอยน์ จึงทำให้ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับทั้งทองคำและบิทคอยน์คือ ดัชนีหุ้นเยอรมนี วิธีที่สองใช้สมการถดถอยแบบกำลังสองน้อยสุด 3 ชั้น พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทองคำได้แก่ ราคาแร่โลหะเงิน, ราคาทองคำขาว, ดัชนีเงินเยนญี่ปุ่น ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับทองคำในเชิงลบได้แก่ ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งได้ผลลัพธ์แตกต่างจากแบบแรก ส่วนทางด้านของบิทคอยน์พบว่า ไม่มีตัวแปรใดเลยที่มีความสัมพันธ์กับราคาบิทคอยน์ และไม่พบความสัมพันธ์แฝงระหว่างตัวแปร
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1531
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061659.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.