Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1523
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KANOKKORN SOONGSATHITANON | en |
dc.contributor | กนกกร สูงสถิตานนท์ | th |
dc.contributor.advisor | Chanthonrat Sitthiworanan | en |
dc.contributor.advisor | จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University. Faculty of Pharmaceutical Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2020-10-27T07:38:07Z | - |
dc.date.available | 2020-10-27T07:38:07Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1523 | - |
dc.description | Master of Pharmacy (M.Pharm.) | en |
dc.description | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The objectives of this mixed methods research based on the quantitative research and qualitative research were to make the consumer protection proposal on unfair online cosmetic advertisements, to survey level of knowledge, attitude of online cosmetic consumers toward online cosmetic advertisements, informed perception and their opinion on consumer protection operations of Food and Drug Administration (FDA). The quantitative research was conducted in 385 online cosmetic consumer samples who aged 20 years old and over by accidental sampling to survey their level of knowledge, attitude, informed perception and opinion to achieve the consumer information. Data were collected using online questionnaires between July and September 2019. The results showed that the online cosmetic consumers had overall knowledge related the cosmetics and cosmetic advertisements in the “moderate” level. The average score of the overall attitude towards online cosmetic advertisements was 1.79-3.95 out of 5 scale (1-5). 42.3% of the consumers stated that they were perceived the cosmetic information from FDA and the main channel for this perception was television. While they stated the top 3 channels that affected to their perception are television, Facebook page and activities/ campaign, respectively. In addition, the overall consumers’ opinions on the FDA cosmetics public relation operations were in “good” level. While the consumers’ opinions on the FDA cosmetics control operations were in “moderate” level. Then, the qualitative research was conducted by in-depth interviewing 5 key persons who worked at the FDA by purposive sampling on October 2019 to study the concepts or proposal for consumer protection based on the consumer information obtained from quantitative research. The qualitative research found the FDA proposal might produce more cosmetics public relation media for consumers misunderstand correction. Television media advertising and collaboration with social media influencers or other influencers might be considered to increase. Legal measures by strictly uses, ongoing action and serious taking should be action. Modification of organization structure and manpower within the department, and working process reduction would be recommended. Amendment of Cosmetics Act or adding cosmetics advertising terms and conditions for facilitate information searching by officer would also be proposed. Nevertheless, the budget and manpower of the authorities are still an important issue. If The FDA use the results of this research as part of the consideration or the operational proposal may improve online cosmetic consumer protection systems and operations to keep up with current situations. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ งานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์โดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรม สำรวจระดับความรู้ ทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์ และการรับรู้ของผู้บริโภค รวมถึงรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการดำเนินงานด้านเครื่องสำอางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยงานวิจัยเชิงปริมาณจะสำรวจระดับความรู้ ทัศนคติที่มีต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์ การรับรู้ข้อมูล รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคเครื่องสำอางออนไลน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ในประเทศไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ผ่านการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 385 คน ใช้วิธีสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2562 ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางและการโฆษณาในภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ในส่วนของทัศนคติและการรับรู้ข้อมูล พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของทัศนคติในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์อยู่ในช่วง 1.79-3.95 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน และมีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 42.3 ที่เคยได้รับความรู้หรือข้อมูลข่าวสารด้านเครื่องสำอางจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยได้รับความรู้หรือข้อมูลข่าวสารมากที่สุดทางโทรทัศน์ และช่องทางที่ผู้บริโภคคิดว่ามีผลต่อการรับรู้ข้อมูลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ Facebook page และกิจกรรม/โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านข้อมูลข่าวสาร-การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเครื่องสำอางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในภาพรวมอยู่ในระดับ “ดี” ขณะที่ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการควบคุมเครื่องสำอางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” จากนั้น นำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยเชิงปริมาณมาทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาแนวคิด การจัดการ หรือการวางแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ผ่านการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2562 พบว่า แนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในอนาคตนั้น ควรเพิ่มการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภค อาจพิจารณาจัดทำสื่อทางโทรทัศน์มากขึ้น หรือร่วมมือกับผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือ influencers ให้มากขึ้น ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานและอัตรากำลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานให้เหมาะสม และควรปรับลดขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงานด้วย อาจมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติเครื่องสำอางหรือเพิ่มข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการโฆษณาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการสืบค้นข้อมูลแต่อย่างไรก็ตาม งบประมาณและอัตรากำลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างราบรื่น หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานำผลจากงานวิจัยนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการพิจารณา หรือการวางแนวทางการดำเนินงานอาจมีส่วนช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องสำอางออนไลน์ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันต่อไปได้ | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภค | th |
dc.subject | โฆษณาออนไลน์ | th |
dc.subject | เครื่องสำอาง | th |
dc.subject | เครื่องสำอางออนไลน์ | th |
dc.subject | ข้อความที่ไม่เป็นธรรม | th |
dc.subject | Consumer Protection | en |
dc.subject | Online Advertisement | en |
dc.subject | Cosmetics | en |
dc.subject | Online Cosmetics | en |
dc.subject | Unfair Advertisement | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.title | แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์โดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรม ในบริบทข้อมูลจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ | th |
dc.title | Consumer Protection Proposal on Unfair Online Cosmetic Advertisements in Context of Consumer Information | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60060172.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.