Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1465
Title: การรับสัมผัสฝุ่น PM10 และผลกระทบต่อสุขภาพ ของบุคลากรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และการจัดการฝุ่น
The Inhalation exposure and health effect of PM10 of population in Faculty of Engineering, Naresuan University and particle management
Authors: THEERAPON SUKSAMRAN
ธีรพล สุขสำราญ
Pajaree Thongsanit
ปาจรีย์ ทองสนิท
Naresuan University. Faculty of Engineering
Keywords: การรับสัมผัส
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Inhalation exposure
Health effects
PM10
Naresuan University
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: Research conducted from 2010 to 2017 by the Faculty of Engineering, Naresuan University revealed a dust problem. Accordingly, this latest research studied inhalation exposure and health effects of particulate matter with an aerodynamic diameter equal to a nominal 10 µm. (PM10). The PM10 samples were collected from the environments of volunteers using low volume air samplers with a flow rate of 1.7 L/min. The volunteers, from six occupational groups (lecturers, administrative staff, students, gardeners, security officers, and housemaids), were asked to carry the air samplers for 1 working day (8 hours). Fifty samples were collected from January 2019 to March 2019. The lowest level of the inhalation exposure was collected from the lecturers at 0.75x10-4 mg/kg/day, while the highest level was from the security officers at 2.1x10-4 mg/kg/day. When the data was divided into 3 groups (skilled workers, students and, unskilled workers), the skilled workers, with a Hazard Quotient (HQ) of 8.12x10-3 and the students, with a HQ of 7.86x10-3, were exposed to less PM10 less than the unskilled workers, while both the skilled workers and students had a coefficient of determination of 59.70%. This meant there was a very low effect on health. However, the results did not suggest a high risk for all of the six occupational groups.
จากข้อมูลในงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553-2560 นั้นพบว่าประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มาโดยตลอด ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นศึกษาผลการรับสัมผัสทางการหายใจและค่าผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM10 ของอาสาสมัครทั้ง 6 สายงาน ได้แก่ อาจารย์, เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย, นิสิต, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, แม่บ้าน และเจ้าหน้าที่ดูแลสวน ที่มีกิจกรรมบริเวณคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยทำการเก็บตัวอย่างฝุ่น PM10 ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศส่วนบุคคล ซึ่งกำหนดอัตราการไหลของอากาศเป็น 1.7 ลิตรต่อนาที ในระยะเวลา 8 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 อาคารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ผลการศึกษาพบว่าสายงานอาจารย์มีค่าการรับสัมผัสฝุ่น PM10 ทางการหายใจต่ำสุดที่ 0.75x10-4 มก./กก.-วัน สายงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีค่าการรับสัมผัสฝุ่น PM10 ทางการหายใจสูงสุดที่ 2.1x10-4 มก./กก.-วัน แต่เมื่อจัดสายงานเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสายงานวิชาการ กลุ่มสายงานนิสิต และกลุ่มสายงานสนับสนุน พบว่ากลุ่มสายงานวิชาการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพที่ HQ=8.12x10-3 และกลุ่มสายงานนิสิตได้รับผลกระทบต่อสุขภาพที่ HQ=7.86x10-3 ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มได้รับผลกระทบต่อสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มสายงานสนับสนุนในขณะเป็นฐานเปรียบเทียบ แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ HQ ไม่เกิน “1” นั่นแสดงว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในภาวะปกติของร่างกาย ที่ระดับค่าสัมประสิทธิ์การกำหนดเท่ากับ 59.70% และยังแสดงให้เห็นว่าสายงานที่มีกิจกรรมภายนอกอาคารมีโอกาสรับสัมผัสกับฝุ่น PM10 มากกว่าสายงานที่มีกิจกรรมภายในอาคาร ทั้งนี้ไม่พบค่าบ่งชี้ถึงความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1465
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061178.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.