Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1461
Title: ระบบโลจิสติกส์ของขยะชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี
Solid waste logistic system of Uthai Thani municipality
Authors: PAPOP IN-AI
ปภพ อินอ้าย
Dondej Tungtakanpoung
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์
Naresuan University. Faculty of Engineering
Keywords: ขยะมูลฝอย
ขยะรีไซเคิล
โลจิสติกส์
Municipal solid waste
Logistics
recycled materials
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: Solid waste is another serious issue of Thailand due to the continuous increasing of its quantity. As a consequence, the organization responded of that problem has to obtain the disposal area. The Uthai Thani Municipality is confronting of that for example no solid waste management plan and the limitation of the landfill capacity. This research applied the logistics study for analysis of the solid waste management system, the nodes and the waste movement in the supply chain and the solid waste quantity in order to improving the efficiency of its management of Uthai Thani municipality. The results show that the solid waste generation of the municipality is 19,934 kilograms / day and the characteristics of that are 64.24% of organic waste (putrescible), 3.38% of wood, 0.92% of rubber, 3.34% of textile, 0.27% of foam, 0.01% of leather, 0.01% of hazardous waste, 20.38% of plastic, 3.21% of paper, 1.32% of glass, 0.86% of metal and 2.14% of miscellaneous. The nodes of the solid waste management system consist of household, bin, truck, landfill, hazardous waste storing center and recycling business shop. The beginning of that logistics start at household (19,934 kilograms / day). 1 kilogram of hazardous waste and 3,060 kilograms of recycle material is separated and 16,873 kilograms / day of the rest is moved into the bin. Then the scavenger collect 120 kilograms / day of the recycle material and 16,753 kilograms / day of the rest is moved into the truck. After that 53 kilograms / day of recycle material is separated and 16,700 kilograms / day of the rest is moved into the landfill. Also, the landfill scavenger is collected 103 kilograms / day of recycle material.  At the end, 16,537 kg / day of that is landfilled (83.25% of total waste). However, it can be estimated that 4199 kilograms per day of recycle material is laid down properly in the landfill. From this research, it found that the large portion of the total waste such as organic waste and recyclable material is still moved into the landfill. Therefore, the planning and design of the solid waste management of Uthai Thani Municipality or the other should consider the waste separation system at the landfill in order to removing organic waste and recyclable material out of the landfill. If the separation system will operate appropriately at Uthai Thani Municipality landfill, only 9.99 % of the solid waste generation will be landfilled optimistically at the disposal site. 
ขยะมูลฝอยเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการขยะโดยฉพาะอย่างยิ่งการหาพื้นที่เพื่อกำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองอุทัยธานีเป็นอีกเทศบาลหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวซึ่งได้แก่ปัญหาบ่อฝังกลบใกล้เต็มและไม่มีแผนการจัดการขยะทั้งระบบเป็นต้น การวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ศึกษาโลจิสติกส์ของขยะมูลฝอยเพื่อนำมาวิเคราะห์ระบบการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยได้ดำเนินการสำรวจระบบการจัดการขยะ เก็บข้อมูลสถานที่ (Node) ในโซ่อุปทานของขยะและวิเคราะห์เป็นรูปแบบการเคลื่อนที่และปริมาณของขยะทั้งหมดในระบบ ผลการศึกษาพบว่าเทศบาลเมืองอุทัยธานีมีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยปริมาณ 19,934 กิโลกรัม/วัน โดยลักษณะองค์ประกอบที่ฝังกลบเป็นขยะอินทรีย์เน่าเปื่อยง่าย 64.24% เศษไม้ 3.38% ยาง 0.92% ผ้า 3.34% โฟม 0.27% หนัง 0.01% ขยะอันตราย 0.01% พลาสติก 20.38% กระดาษ 3.21% แก้ว 1.32% โลหะ 0.86% และอื่น ๆ 2.14% สถานที่ในโซ่อุปทานของขยะประกอบไปด้วย บ้านเรือน ถังขยะ รถขยะของเทศบาล บ่อฝังกลบ ศูนย์รวบรวมขยะอันตรายและร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล ขยะมูลฝอยเคลื่อนที่เริ่มจากจุดบ้านเรือนเฉลี่ย 19,934 กิโลกรัม/วัน ประชาชนจะคัดแยกขยะอันตรายเฉลี่ย 1 กิโลกรัม/วัน และคัดแยกขยะรีไซเคิลออกเฉลี่ย 3,060 กิโลกรัม/วัน เหลือทิ้งลงถังขยะปริมาณเฉลี่ย 16,873 กิโลกรัม/วัน ที่จุดถังขยะจะมีผู้เก็บขยะคัดแยกขยะรีไซเคิลเฉลี่ย 120 กิโลกรัม/วัน ทำให้เหลือจากถังขยะไปส่งไปยังรถขยะปริมาณเฉลี่ย 16,753 กิโลกรัม/วัน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีขยะรีไซเคิลทั้งหมดเฉลี่ย 4,199 กิโลกรัม/วัน ถูกฝังกลบอยุ่ในบ่อฝั่งกลบ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ยังมีปริมาณขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิลเคลื่อนที่ไปยังบ่อฝังกลบในปริมาณมาก ดังนั้นการออกแบบวางแผนการจัดการขยะของเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานีหรือสถานที่อื่น ๆ ควรคำนึงถึงระบบคัดแยกขยะที่บ่อฝังกลบเพื่อนำขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิลดังกล่าวทมาใช้ประโยชน์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ขยะเหลืออยู่ในบ่อฝั่งกลบประมาณ 9.99% เช่นการผลิตปุ๋ยหมักหรือแก๊สชีวภาพและระบบการจัดการขยะรีไซเคิลหรือการคัดแยกขยะที่บ่อฝังกลบจะสามารถลดปริมาณขยะและยืดอายุเวลาของบ่อฝังกลบได้
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1461
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59061835.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.