Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1458
Title: การประมาณระยะเวลาการก่อสร้างโดยอัตราการทำงานตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างและระยะเวลาเผื่อ
ESTIMATING CONSTRUCTION DURATION BY USING ALLOWANCE AND PRODUCTIVITY BASED ON THE GOVERNMENT CONSTRUCTION COST CALCULATION CRITERIA
Authors: CHAIPAKTH MUNKONGSAWATWONG
ชัยภัคฐ์ มั่นคงเศวตวงศ์
Kampon Subsomboon
กำพล ทรัพย์สมบูรณ์
Naresuan University. Faculty of Engineering
Keywords: ระยะเวลาการก่อสร้าง อัตราการทำงาน หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ระยะเวลาเผื่อ
Construction duration Production rate method Government construction cost calculation criteria Allowance
Issue Date: 2561
Publisher: Naresuan University
Abstract: The governmental construction project durations of the contracts are roughly approximated by using a traditional estimating process from the gross area or budget. These contractual duration are not corresponded or related to activities crew according to Thailand’s Comptroller General Department (CGD)’s fair price, resulting in delay. From the delay, the contractors need to catch up their schedules, affecting their final qualities. This research presents the development of a tool by using the Visual Basic for Applications (VBA) on MS Excel sheet in order to estimate its duration by using the production rate method for each activity based on its crew including labor and equipment according to the government construction cost calculation criteria. The contingency for relaxation and raining allowance for the project duration are added and included as alternatives for the estimator in four types of construction comprising of building, highway, bridge and irrigation. By comparing the results of the 34 case studies in Nakon Sawan province comprising of 15 buildings, 10 highways, 4 bridges, and 5 irrigation projects, the developed tool reports that their contractual durations according to productivity, relaxation, and raining allowance are closer to their actual durations with its bias error of 4.05, 3.95, 3.94 and 3.56 percent, respectively. This research concluded that the estimated duration of the construction project based on the production rate method, relaxation, and raining allowance can be used as a guideline to specify the contractual duration for governmental organizations because of its accuracy.
โครงการก่อสร้างของหน่วยงานรัฐจะมีการกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างในสัญญาจ้าง โดยระยะเวลาการก่อสร้างในทางวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิมจะประมาณจากพื้นที่ใช้สอยรวมหรือจากงบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องหรือสัมพันธ์กับราคากลางที่รัฐกำหนด ทำให้โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างต้องเร่งดำเนินงานเพื่อให้ทันตามสัญญาจ้างจึงกระทบต่อคุณภาพของงานก่อสร้าง การศึกษาครั้งนี้ได้สร้างและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ VBA (Visual Basic for Applications) บนแผ่นงานในโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อประมาณระยะเวลาการก่อสร้างโดยใช้อัตราการทำงานที่ประกอบด้วยจำนวนชุดแรงงานคนและเครื่องมือต่อกิจกรรมต่อหน่วยตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง รวมถึงประมาณระยะเวลาเผื่อการพักผ่อน และระยะเวลาเผื่อวันฝนตก จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ งานอาคาร  งานทาง  งานสะพาน และงานชลประทาน ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาการก่อสร้างที่ได้จากโปรแกรมกับโครงการก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 34 โครงการ ได้แก่ งานอาคาร 15 โครงการ  งานทาง 10 โครงการ  งานสะพาน 4 โครงการ และงานชลประทาน 5 โครงการ  ปรากฏว่าโปรแกรมคำนวณระยะเวลาการก่อสร้างจากอัตราการทำงาน  ระยะเวลาเผื่อการพักผ่อน และระยะเวลาเผื่อวันฝนตก มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยร้อยละ 4.05, 3.95, 3.94 และ 3.56 ตามลำดับ การศึกษาปรากฏว่า การประมาณระยะเวลาการก่อสร้างโดยอัตราการทำงานตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางและระยะเวลาเผื่อทั้ง 2 กรณี ได้ค่าใกล้เคียงกับระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างจริง ซึ่งหน่วยงานรัฐสามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างของสัญญาจ้างได้
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1458
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58061010.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.