Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5168
Title: | ความรอบรู้ทางทันตสุขภาพของผู้ปกครองที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยผู้ปกครองของเด็ก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ Oral Health Literacy Influencing Oral Health Behavior among parents of pre-school children in Muang District, Nakhon Sawan Province. |
Authors: | Chatnapa Jobsri ฉัตรนภา จบศรี Phataraphon Markmee ภัทรพล มากมี Naresuan University. Faculty of Public Health |
Keywords: | ความรอบรู้ทางทันตสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กก่อนวัยเรียน Oral health literacy oral health behavior pre-school children |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objective of this cross-sectional study was to examine the influence between oral health literacy in parents on the oral health behaviors of preschool children in Muang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province. Data were collected from January 2021 to March 2021 via A self-reported questionnaires from 393 of children and analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis with a statistical significance level of 0.05.
The results showed that 76.3% and 84.2% of parents were at fair levels of oral health literacy and oral health behaviors. Factors influencing oral health behaviors of preschool children by parents consist of parent’s bachelor degree or above (Beta = 0.121), dental visits of children (Beta = 0.167), fluoride varnish of children (Beta = 0.122), and the following oral health literacy on self-management (Beta = 0.257), access to oral health and wellness information (Beta = 0.179), and decision on oral health prevention (Beta = 0.184), These variables were able to explain the variation of the oral health behavior of parents to their-preschool children by 31.6% (Adjusted R2 = 0.305). Thus, encouraging parents to manage themselves in the care of children's oral health may help the correct oral care practice. We should focus on providing easy-to-understand oral health information and oral health services to parents with education below a bachelor's degree to improve the good oral health of children. การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรอบรู้ทางทันตสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 393 คน ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรอบรู้ทางทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ในระดับพอใช้ ร้อยละ 76.3 และ 84.2 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนประกอบด้วย ผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับในระดับปริญญาตรี (Beta = 0.121) เคยพาเด็กไปรับบริการตรวจฟัน (Beta = 0.167) และเคลือบฟลูออไรด์ (Beta = 0.122) ความรอบรู้ทางทันตสุขภาพในเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ปกครองทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การจัดการตนเอง (Beta = 0.257) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (Beta = 0.179) และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง (Beta = 0.184) ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ได้ร้อยละ 31.6 (Adjusted R2 = 0.305) ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถจัดการตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้ อาจช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยเน้นให้ข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพช่องปากที่เข้าใจง่ายให้กับผู้ปกครองที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5168 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62062013.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.