Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4077
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSAOWALUK DISDEEen
dc.contributorเสาวลักษณ์ ดิษดีth
dc.contributor.advisorNalinee Mohprasiten
dc.contributor.advisorนลินี เหมาะประสิทธิ์th
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Business,Economics and Communicationsen
dc.date.accessioned2021-11-18T01:38:27Z-
dc.date.available2021-11-18T01:38:27Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4077-
dc.descriptionMaster of Business Administration (M.B.A.)en
dc.descriptionบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)th
dc.description.abstractA study of marketing communication and motivation factors affecting the decision to use petrol station in Phitsanulok. The objective of this study was to study the marketing communication factors and the motivation factors affecting consumers' decision to use petrol stations in Mueang and Bangrakam district, Phitsanulok. The sample group was car drivers who had driving licenses, aged over 20 years old, drove private cars or pick-up trucks or trucks and they had been at least refueling of any type of petrol at least once at the petrol station. The data was collected by using questionnaires for 400 sets. The statistics used for data analysis were descriptive statistics such as Percentage, Mean, Standard Deviation, and Inferential Statistics analyzed by Multiple Regression Analysis. The study found that most of the sample were male, aged 30-39, single status with highest education at bachelor's degree, self-employed, earned an income level of not more than 15,000 Baht per month. The frequency of using the petrol station was around 1-2 times per week, spent more than 3,001 Baht per month, refueling diesel B7 and mostly drove private passenger cars to service at the petrol station. The study results in marketing communication and motivation factors found that there was a high level of opinions towards all factors. The results of hypothesis testing showed that marketing communication factors consisted of sale promotion, direct marketing, personal selling, and public relations affected the decision to use petrol station by 53.20 percent, it affected in descending order by public relations, personal selling, sale promotion, and direct marketing. In addition, motivation factors, namely rational and emotional aspects affected the decision to use petrol station by 46.80 percent. The emotional aspect had the greatest effect on the decision to use the service, followed by the rational aspect, with all factors being statistically significant at the 0.05 level.en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการสื่อสารทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ในจังหวัดพิษณุโลก มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล กระบะ และรถบรรทุกที่ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในอำเภอเมือง และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้ และได้มีการเติมน้ำมันชนิดใดก็ได้ อย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นจำนวน 400 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 30 – 39 ปี สถานภาพโสด การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพอิสระ มีระดับรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน มีความถี่ในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ มากกว่า 3,001 บาทต่อเดือน เติมน้ำมันดีเซล B7 (ดีเซล) เป็นประจำ และนำรถประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาเติมน้ำมัน ผลการศึกษาด้านการสื่อสารทางการตลาด และด้านแรงจูงใจ พบว่ามีระดับความคิดเห็นต่อทุกปัจจัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก     ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การส่งเสริมการขาย การสื่อสารทางตรง การสื่อสารแบบส่วนตัว และการประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดพิษณุโลก อยู่ร้อยละ 53.20 โดยเรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปหาน้อย คือ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารแบบส่วนตัว การส่งเสริมการขาย และการสื่อสารทางตรง ตามลำดับ และในส่วนของปัจจัยด้านแรงจูงใจ ได้แก่ ด้านเหตุผล และด้านอารมณ์ มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดพิษณุโลก โดยด้านอารมณ์มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการมากที่สุด รองลงมา คือด้านเหตุผล อยู่ร้อยละ 46.80 โดย โดยทุกปัจจัยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectการสื่อสารทางการตลาดth
dc.subjectแรงจูงใจth
dc.subjectการตัดสินใจใช้บริการth
dc.subjectสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงth
dc.subjectMarketing communicationen
dc.subjectMotivationen
dc.subjectDecision to useen
dc.subjectPetrol stationen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleการสื่อสารทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดพิษณุโลกth
dc.titleMarketing communication and motivation affecting the consumers’ decision to select petrol station in Phitsanuloken
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060828.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.