Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1555
Title: รูปแบบการอภิบาลผ่านความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมือง ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เขต 12
Collaborative Governance Model on Aging Urban Areas Health Promotion of Local Health Funds Insurance at Region 12
Authors: SANYA YUERAN
สัญญา ยือราน
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การอภิบาลผ่านความร่วมมือ
การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
Collaborative
Governance
Ageing Health Promotion
Local Health Security Fund
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this mixed-method design were to study collaborative governance and to identify factors affecting collaborative governance for ageing health promotion in the urban areas of Local Health Security Funds, Region 12. The study also aimed to develop a model and evaluate the effectiveness of the pastoral care model through collaborative governance for ageing health promotion in urban areas of Local Health Security Funds, Region 12. The study was divided into 3 phases. Phase 1 was conducted using a convergent parallel mixed-method design. A quantitative research was a cross-sectional study proposed to determine collaborative governance and to identify factors affecting collaborative governance for ageing health promotion in the urban areas of local health security funds, Region 12. A total of 270 study subjects. The subjects were selected using stratified cluster sampling and data were collected using a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation, and inferential statistic was stepwise-multiple regression analysis. Nineteen Participants in qualitative method were recruited by purposive sampling technique and data were obtained using in-depth interviews and focus group interviews from 19 and 14 key informants, respectively. Content analysis was used for data analysis. Phase 2 was a development and confirmatory process of the model. The last phase was the implementation and evaluation of the model using qualitative techniques. Data were analyzed by content analysis.   The study showed that the consisting results from quantitative and qualitative methods in phase 1 involved 1) knowledge strategies, 2) resource strategies, 3) leadership management, 4) resource management, 5) public relation, and monitoring and evaluation. The inconsistent reinforcing factors which affecting only in the quantitative study was problem searching and factors affecting only in the qualitative approach included 1) leadership strategies, 2) organizational culture strategies, 3) network management, and 4) project management. The results leading to the development and confirm the model included 1) input factors such as knowledge strategies, resource strategies and cultural strategies, 2) the process such as problem searching, resource management, leadership management, public relation, network management, and monitoring and evaluation, and 3) the main outcomes were effectiveness, relationship quality, network management, perspective perception, and network tight. The last process was the effectiveness evaluation of the model by using Deming Cycle. The results showed higher financial supported for the elderly health promotion, better relationship quality, perceived ideas to each other, trustworthiness to each other, and the increasing of collaborative bonds. However, all systems should be improved and developed continuously especially in public relation and monitoring and evaluation. The collaborative governance model in this study can be utilized for developing the management of Local Health Security Funds to promote health among the elderly more effectively including other age groups. Further, the model can be applied for managing collaboration in health problem solving based on the area context appropriately
การศึกษาวิจัยเชิงผสมผสาน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอภิบาลผ่านความร่วมมือและปัจจัยที่มีผลต่อการอภิบาลผ่านความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมือง ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เขต 12 สงขลา รวมทั้งเพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการอภิบาลผ่านความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมือง ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เขต 12 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการศึกษาเชิงปริมาณพร้อมกับการศึกษาเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 19 คน และการสนทนากลุ่ม 14 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนระยะที่ 2 การพัฒนาและยืนยันรูปแบบ และระยะสุดท้ายเป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า การผสานผลการวิจัยจากข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 ปัจจัยหลักที่สอดคล้องกัน ได้แก่ 1) การติดตามและประเมินผล  2) การจัดการทรัพยากร 3) กลไกด้านความรู้ 4) การจัดการความเป็นผู้นำ 5) กลไกด้านทรัพยากร และ 6) การประชาสัมพันธ์ และปัจจัยเสริมที่ผลการวิจัยไม่ได้สอดคล้องกัน โดยที่เป็นปัจจัยส่งผลเฉพาะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณอย่างเดียว ได้แก่ การค้นหาปัญหา และส่งผลเฉพาะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพอย่างเดียว ได้แก่  1) กลไกด้านผู้นำ 2) กลไกด้านวัฒนธรรมองค์กร 3) การจัดการเครือข่าย และ 4) การจัดทำโครงการ ผลที่ได้นำไปสู่การพัฒนาและยืนยันรูปแบบที่สร้างขึ้นภายใต้ระบบการอภิบาลผ่านความร่วมมือที่ประกอบด้วย 1. ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ กลไกด้านความรู้ กลไกด้านทรัพยากร และ กลไกด้านวัฒนธรรม 2. กระบวนการ ได้แก่ การค้นหาปัญหา การจัดการทรัพยากร การจัดการความเป็นผู้นำ การประชาสัมพันธ์ การจัดการเครือข่าย และการติดตามและประเมินผล และ 3. ผลลัพธ์สำคัญได้แก่ ประสิทธิผล คุณภาพความสัมพันธ์ การรับรู้มุมมองความคิดเห็น และความเหนียวแน่นของเครือข่าย สุดท้ายเป็นการทดลองใช้รูปแบบโดยอาศัยกรอบวงจรคุณภาพ และการประเมินผล ทั้งในด้านประสิทธิผล ที่แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานการสนับสนุนงบประมาณการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น มีคุณภาพความสัมพันธ์ที่ดี การรับรู้ความคิดเห็นของกันและกัน และมีความไว้วางใจต่อกัน รวมทั้งเกิดความเหนียวแน่นของความร่วมมือที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกส่วนของระบบ โดยเฉพาะการติดตามและประเมินผล การจัดการทรัพยากร กลไกด้านความรู้ ความเป็นผู้นำ กลไกด้านทรัพยากร และการประชาสัมพันธ์ รูปแบบการอภิบาลผ่านความร่วมมือที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ และสามารถประยุกต์ใช้รูปแบบดังกล่าวในการจัดการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1555
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58031891.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.