Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6521
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPatarawadee Yodbureeen
dc.contributorภัทราวดี ยอดบุรีth
dc.contributor.advisorApirath Wangteerapraserten
dc.contributor.advisorอภิรัตน์ หวังธีระประเสริฐth
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2024-12-11T02:42:24Z-
dc.date.available2024-12-11T02:42:24Z-
dc.date.created2567en_US
dc.date.issued2567en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6521-
dc.description.abstractIntroduction: Multiple Choice Questions (MCQs) are widely used in knowledge assessments because they can evaluate multiple objectives through numerous items. Following each exam, a test analysis is conducted to determine the validity and reliability of these questions. This study assessed the quality of MCQs used in the "Health and Diseases in Newborns to Adolescents 1" course for fourth-year medical students at the Faculty of Medicine, Naresuan University. The evaluation included analyzing individual question quality and overall test set effectiveness and examining the relationship between question difficulty levels before and after the exam. Methodology: The retrospective data from medical student exams conducted in the 2020 academic year. The exam comprised four sets of 100 questions, with 65 students in Set 1, 50 in Set 2, 49 in Set 3, and 13 in Set 4. Before the exams, a committee assessed the validity of the questions to align with course objectives. Following the exams, data from all four sets were analyzed to measure item difficulty (p) and item discrimination (r). Statistical tools were applied to examine relationships, including mean, standard deviation, KR-20 reliability coefficient, and Pearson correlation. Results: The item analysis by question revealed that the difficulty levels (p) for Sets 1-4 fell within the optimal quality range of 0.40-0.59, with 13-26% of questions meeting this criterion. The discrimination index (r) showed that 14-30% of questions had strong discriminatory power, with values above 0.35. Each test set was evaluated for validity, confirming alignment with course objectives, coverage of relevant content, and consistency with the curriculum, providing a comprehensive construct validity. The exam reliably measured targeted knowledge, skills, and competencies as verified by the course committee. The reliability analysis showed acceptable scores (KR-20 ≥ 0.70) for all four test sets. Correlation between pre-exam and post-exam difficulty levels ranged from 0.31 to 0.50, indicating moderate correlation in 353 questions (88.25%). Conclusion: Analysis of the relationship between pre-exam and post-exam difficulty indices for Sets 1-3 demonstrated a statistically significant positive correlation, suitable for the intended course content. However, Set 4 showed no correlation due to the limited number of examinees. It is recommended that all four test sets be revised and that the sample size for Set 4 be increased to improve the effectiveness of future correlation analyses.en
dc.description.abstractบทนำ การวัดประเมินผลโดยใช้การทดสอบแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก (Multiple Choice Questions; MCQs) เป็นการวัดความรู้ได้หลายวัตถุประสงค์เนื่องจากมีจำนวนข้อมาก และหลังจากการสอบต้องมีการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อดูความเที่ยงและความเชื่อมั่นของข้อสอบ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ MCQs ในรายวิชาสุขภาพและโรคของเด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่น 1 สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยแบ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบรายข้อและรายชุด รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายาก-ง่ายของข้อสอบก่อนและหลังสอบ วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากการสอบของนิสิตแพทย์ในปีการศึกษา 2563 โดยข้อสอบมี  4  ชุด ชุดละ 100 ข้อ  ชุดที่ 1 มีผู้เข้าสอบ 65 คน ชุดที่ 2 มีผู้เข้าสอบ 50 คน ชุดที่ 3  มีผู้เข้าสอบ 49  คน  ชุดที่ 4  มีผู้เข้าสอบ 13  คน ก่อนการสอบมีคณะกรรมการประเมินความเที่ยงของข้อสอบให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลังจากการสอบ นำผลการสอบทั้ง 4 ชุดมาวิเคราะห์ค่าความยาก-ง่าย (Item difficulty ; p)  ค่าอำนาจจำแนก (Item discrimination ; r) ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 ทดสอบความสัมพันธ์โดย Pearson Correlation ผลการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบรายข้อโดยแบ่งเป็นค่าความยาก-ง่ายของข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณภาพ พบว่า ข้อสอบชุดที่ 1-4 มีค่าความยากง่าย ช่วง 0.40-0.59 อยู่ในช่วงร้อยละ 13-26 และค่าอำนาจการจำแนกที่สามารถจำแนกผู้เข้าสอบได้ดีมากที่มีค่าตั้งแต่ 0.35 ขึ้นไป อยู่ในช่วงร้อยละ 14-30 การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบรายชุดด้านความเที่ยงตรง (Validity) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตรงตามเนื้อหา สอดคล้องกับรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร ครบถ้วน มีความตรงตามโครงสร้าง ข้อสอบสามารถวัดพฤติกรรมและสมรรถภาพด้านต่างๆ ของนิสิตแพทย์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และเป็นไปตามหลักการของทฤษฎี โดยผ่านมติร่วมกันของคณะกรรมการรายวิชา ด้านความเชื่อมั่น (Reliability) ชุดข้อสอบที่มีค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป เป็นที่ยอมรับได้ทั้ง 4 ชุด ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยาก-ง่ายของข้อสอบก่อนและหลังสอบ อยู่ในช่วง 0.31-0.50 แสดงถึงความสัมพันธ์กันของข้อสอบก่อนและหลังสอบ จำนวนทั้งหมด 353 ข้อ ร้อยละ 88.25 สรุป จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยากง่ายก่อนสอบและหลังสอบในชุดที่ 1-3 พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเหมาะสมสำหรับเนื้อหาที่ควรรู้ ในขณะที่ชุดที่ 4 ไม่มีความสัมพันธ์ เนื่องจากจานวนผู้เข้าสอบน้อย ผู้วิจัยเสนอให้ปรับปรุงข้อสอบทั้ง 4 ชุดและเพิ่มจำนวนผู้เข้าสอบในชุดที่ 4 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ข้อสอบth
dc.subjectข้อสอบ MCQsth
dc.subjectนิสิตแพทย์th
dc.subjectAnalysis of the MCQ examen
dc.subjectmedical studentsen
dc.subject.classificationHealth Professionsen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleการวิเคราะห์ข้อสอบ MCQ รายวิชาสุขภาพและโรคของเด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น 1 สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรth
dc.titleAnalysis of the MCQ exam in the course of health and disease of newborns to adolescents 1 for 4th year medical students, Faculty of Medicine Naresuan Universityen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorApirath Wangteerapraserten
dc.contributor.coadvisorอภิรัตน์ หวังธีระประเสริฐth
dc.contributor.emailadvisorapirathw@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisorapirathw@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameMaster of Science (M.S.)en
dc.description.degreenameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
Appears in Collections:คณะแพทยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PatarawadeeYodburee.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.