Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6252
Title: FACTORS PREDICTING HEALTH LITERACY OF SELF-CARE IN THAI TRADITIONAL MEDICINE AMONG PATIENTS WITH TYPE 2 DIABETES AT PHROM PHIRAM HOSPITAL IN PHITSANULOK PROVINCE
ปัจจัยพยากรณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองด้านการแพทย์แผนไทยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
Authors: PEMIKA BOONTHAI
เปมิกา บุญไทย
Anusara Sihanat
อนุสรา สีหนาท
Naresuan University
Anusara Sihanat
อนุสรา สีหนาท
anusaras@nu.ac.th
anusaras@nu.ac.th
Keywords: ความรอบรู้ทางสุขภาพ
การดูแลตนเองด้านการแพทย์แผนไทย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Health literacy
Self-care in thai traditional medicine
patients with type 2 diabetes
Issue Date:  22
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is a predictive research. The purpose of this research was to study the level and predicting factors health literacy of self-care in Thai traditional medicine among patients with type 2 diabetes at Phrom Phiram Hospital in Phitsanulok Province. Data collection was used by questionnaires from 429 participants. Multiple Regression Analysis was used for data analysis. The significant was set at p-value < 0.05. The results found that 86.5 percent of the participants had a sufficient level of health literacy in Thai traditional medicine as well as correct self-care practices. The analysis of the stepwise multiple regression has the factors that could predict the health literacy of self-care in Thai traditional medicine among type 2 diabetic patients were age (Beta = -0.300, p-value < 0.001), social support (Beta = 0.194, p-value < 0.001), perception of health (Beta = 0.172, p-value = 0.001), agriculture (Beta = 0.170, p-value = 0.001) and trade (Beta = -0.106, p-value = 0.031), 24.9 percent of the variance can be explained Therefore, organize activities to promote learning for type 2 diabetes patients, we must to consider about these factors. To be a guideline for solving health problems for patients who want to promote their own health with Thai traditional medicine.
การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพยากรณ์ เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองด้านการแพทย์แผนไทยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 429 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Multiple Regression Analysis กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 86.5 เป็นผู้ที่มีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยที่เพียงพอและอาจจะมีการปฏิบัติเพื่อการดูแลตนเองได้ถูกต้องบ้าง ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองด้านการแพทย์แผนไทยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ อายุ (Beta = -0.300, p-value < 0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = 0.194, p-value < 0.001)  การรับรู้สภาวะทางสุขภาพ (Beta = 0.172, p-value = 0.001) อาชีพเกษตรกรรม (Beta = 0.170, p-value = 0.001) และอาชีพค้าขาย (Beta = -0.106, p-value = 0.031) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 24.9 ดังนั้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ต้องการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6252
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061512.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.