Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6243
Title: | Efficacy of S-Metolachlor and Acetochlor on Weed Control in Sweet Corn ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช เอส-เมโทลาคลอร์ และ อะเซโทคลอร์ ต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวาน |
Authors: | Duangprateep Maliduang ดวงประทีป มะลิดวง Thanatsan Poonpaiboonpipat ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ Naresuan University Thanatsan Poonpaiboonpipat ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ thanatchasanhap@nu.ac.th thanatchasanhap@nu.ac.th |
Keywords: | สารกำจัดวัชพืช เอส-เมโทลาคลอร์ อะเซโทคลอร์ Herbicides S-metolachlor Acetochlor |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Weeds disrupt the growth of sweet corn by competing with factors that contribute to a reduction in yield. Farmers in Sukhothai province make use of the use of paraquat and atrazine as herbicides for weed control. However, because to the ban on paraquat since 2020, it is necessary to recommend alternate herbicides instead. The objective of this study was to examine the effectiveness of pre-emergence herbicides, specifically s-metolachlor and acetochlor, in managing weed growth in sweet corn. The experiment site was done at Srisumrong district, Sukhothai province during March - August 2020. The Randomized Block Complete Design (RBCD) consisted of 11 treatments and 5 replications. The treatments included a weedy check, hoeing, and the farmer practice of using atrazine followed by paraquat. Additionally, acetolchlor was applied at either 340 or 538 grams of active ingredient per Rai, either 1 or 7 days after planting (DAP). s-metolachlor was also applied at either 255 or 340 grams of active ingredient per Rai, either 1 or 7 DAP. The major weeds found in this area were Echinochloa colona, Digitaria cilliaris and Cyperus rotundus. Both the rates of s-metolachlor and the different days of use demonstrated greater weed control efficiency compared to both rates of acetochlor and the farmer's usual practice. The weed number and dry weight of the s-metolachlor treatments significantly exhibited a decrease compared to the other treatments. The results of the sweet corn yield analysis indicate that the s-metolachlor treatments exhibited outstanding ear number and fresh yield compared to the acetochlor treatments and farmer practice. However, there was no significant difference observed when compared to the hoeing method. Soil samples were collected at depths of 0 – 15 cm and 15 – 30 cm in order to assess the presence of residue using a bioassay on wheat. At 0 – 15 cm showed that the s-metolachlor and acetochlor treatments had the dry weight of wheat was not differ with hoeing method and farmer practice. The soil depth of 15 – 30 cm revealed that the application of s-metolachlor at a rate of 340 grams of active ingredient per Rai, either 7 DAP. resulted in a decrease in the dry weight of wheat compared to other treatments suggested that soil residue effect. The findings indicate that the application of both s-metolachlor rates at 1 and 7 days after planting (DAP) is more effective in weed control during sweet corn production compared to acetochlor. However, it is possible that s-metolachlor at a concentration of 340 grams of active ingredient per Rai, either 7 DAP. May remain as residue in the soil at a depth of 15 - 30 cm. This should be taken into careful consideration when planning crop production. วัชพืชรบกวนการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานโดยการแก่งแย่งแข่งขันปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลกระทบให้ผลผลิตข้าวโพดหวานลดลง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานจังหวัดสุโขทัย นิยมใช้สารอะทราซีนตามด้วยพาราควอตในการจัดการวัชพืช อย่างไรก็ตาม พาราควอตถูกประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ต้องหาสารชนิดอื่นทดแทน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ได้แก่ เอส-เมโทลาคลอร์และอะเซโทคลอร์ต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวาน ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ระหว่างเดือนมีนาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 5 ซ้ำประกอบด้วย 11 กรรมวิธี ได้แก่ การไม่กำจัดวัชพืช, การกำจัดวัชพืชด้วยจอบ 2 ครั้ง, การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีของเกษตรกร (อะทราซีนตามด้วยพาราควอท), การพ่นสารกำจัดวัชพืชอะเซโทคลอร์ อัตรา 340 หรือ 538 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์อัตรา 255 หรือ 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก ผลปรากฏว่า วัชพืชที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก และแห้วหมู การพ่นสารเอส-เมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าสารอะเซโทคลอร์ และกรรมวิธีของเกษตรกร โดยมีจำนวนวัชพืชและน้ำหนักแห้งน้อยกว่าอย่างมีน้อยสำคัญ ผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก ทำให้ข้าวโพดหวานมีจำนวนฝัก และน้ำหนักฝักสด มากกว่ากรรมวิธีการอื่น ๆ และไม่แตกต่างกันกับการกำจัดวัชพืชด้วยจอบ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานได้นำดินที่ความลึก 0 – 15 เซนติเมตร และ 15 – 30 เซนติเมตร มาทดสอบการตกค้างของสารด้วยวิธีการทดสอบทางชีวภาพต่อข้าวสาลี พบว่า ที่ความลึก 0–15 เซนติเมตร การพ่นสารเอส-เมทาโลคลอร์และอะเซโทคลอร์ ทั้งสองอัตราให้ผลต่อน้ำหนักแห้งของข้าวสาลีไม่แตกต่างกันกับกำจัดวัชพืชด้วยจอบ ส่วนที่ระดับความลึก 15 – 30 เซนติเมตร พบว่า สารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ที่อัตรา 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 7 วันหลังปลูก ให้น้ำหนักแห้งของข้าวสาลีน้อยกว่ากรรมวิธีการอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าอาจจะเกิดการตกค้างของสารในดิน ที่ความลึกระดับ 15 – 30 เซนติเมตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารเอส-เมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ฉีดพ่นที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวานได้ดีกว่าสารอะเซโทคลอร์ อย่างไรก็ตามเอส-เมโทลาคลอร์อัตรา 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 7 วันหลังปลูก อาจจะเป็นเกิดการตกค้างของสารในดินที่ระดับความลึก 15 – 30 เซนติเมตร ซึ่งจะต้องพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูกในรอบต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6243 |
Appears in Collections: | คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62063751.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.