Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6138
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของผู้สูงอายุในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
Factors Predicting Behaviors of Using Herbal Medicines to Relieve Musculoskeletal Disorders Pain among Elderly in Nongchang District, Uthaithani Province
Authors: Nutcha Riwpitak
ณัชชา ริ้วพิทักษ์
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
Naresuan University
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
rungw@nu.ac.th
rungw@nu.ac.th
Keywords: ยาสมุนไพร
ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง
ผู้สูงอายุ
Herbal medicines
Musculoskeletal disorders
Elderly
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This predictive research aimed to study behaviors of using herbal medicines and the factors predicting behaviors of using herbal medicines to relieve musculoskeletal disorders pain among elderly in Nongchang district, Uthaithani province. The sample group were elderly with musculoskeletal disorders pain, who received treatment in 14 public health service centers places of Nongchang district in 2021, The sample of 396 elderly selected by systematic random sampling. Data were collected by using 6 parts of questionnaires as follows: personal factors, knowledge about herbal medicines, attitude about herbal medicines, perceived disorders of the musculoskeletal system, social support, and behaviors of using herbal medicines to relieve musculoskeletal disorders pain. The data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results found that, The attitude about herbal medicines, perceived susceptibility of musculoskeletal disorders pain, perceived severity of musculoskeletal disorders pain, perceived benefits of using herbal medicines, perceived barriers of using herbal medicines and having a role model to use herbal medicines were high level, while the knowledge about herbal medicines, inducing of using herbal medicines, receiving information and receiving advice from medical personnel and public health personnel were medium level, and behaviors of using herbal medicines was low level. The factors predicting the behaviors of using herbal medicines to relieve musculoskeletal disorders pain the most was perceived severity of musculoskeletal pain (β=0.345), followed by experience of using herbal medicines (β=0.300), perceived benefits of using herbal medicines (β=0.298), receiving herbal medicines information (β=0.122), having a role model to use herbal medicines (β=0.108), congenital disease (β=-0.076), income sufficiency (β=-0.091), perceived susceptibility of musculoskeletal pain (β=-0.101), and perceived barriers of using herbal medicines (β=-0.249), respectively. These 9 factors could 54.70% collectively predict the behaviors of using herbal medicines to relieve musculoskeletal disorders pain with statistically significant at 0.05 level.
การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทำนายพฤติกรรม การใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของผู้สูงอายุในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดจาก ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ที่เข้ารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขอำเภอหนองฉาง 14 แห่ง ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 396 คน ด้วยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร การรับรู้ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร การรับรู้โอกาสเสี่ยงของอาการปวด การรับรู้ความรุนแรงของอาการปวด การรับรู้ประโยชน์จากการใช้ยาสมุนไพร การรับรู้อุปสรรคจากการใช้ยาสมุนไพร และการมีบุคคลที่เป็นแบบอย่างในการใช้ยาสมุนไพรอยู่ในระดับสูง ส่วนสิ่งชักนำที่ก่อให้เกิดการใช้ยาสมุนไพร ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาสมุนไพร และการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรอยู่ในระดับต่ำ  โดยปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรได้สูงที่สุดคือการรับรู้ความรุนแรงของอาการปวด(β=0.345) รองลงมาคือ ประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพร(β=0.300), การรับรู้ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร(β=0.298), การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาสมุนไพร(β=0.122), การมีบุคคลที่เป็นแบบอย่างในการใช้ยาสมุนไพร(β=0.108), โรคประจำตัว (β=-0.076), ความเพียงพอของรายได้ (β=-0.091), การรับรู้โอกาสเสี่ยงของอาการปวด(β=-0.101), และการรับรู้อุปสรรคการใช้ยาสมุนไพร (β=-0.249) ตามลำดับ  ปัจจัยทั้ง 9 ตัว สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพร ได้ร้อยละ 54.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6138
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NutchaRiwpitak.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.