Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6134
Title: ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง
THE RESULT OF USING APPLICATION LINE TOGETHER WITH APPLYING PLANNED BEHAVIOR THEORY TO REINFORCE SMOKING PROTECTIVE BEHAVIOR OF GRADE 1 JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS IN ONE SCHOOL
Authors: Kritsana Sriprang
กฤษณะ ศรีปรางค์
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
Naresuan University
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
chakgarphanp@nu.ac.th
chakgarphanp@nu.ac.th
Keywords: ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
แอปพลิเคชันไลน์
การป้องกันการสูบบุหรี่
บุหรี่
นักเรียน
Theory of Planned Behavior
Smoking Prevention
Cigarette Smoking
Students
LINE application
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study employs a quasi-experimental Two Groups Repeated Measurement Design, to investigate the effects of using the Line application in conjunction with the application of behaviour reinforcement theory to prevent smoking behaviour among first-year junior high school students in a school in northern Thailand. The study compares the average scores of favourable attitudes toward non-smoking behaviour, the influence of reference groups on non-smoking behaviour, perceived ability to control smoking behaviour, the development of at intention not to smoke, and smoking prevention behaviour before the experiment, immediately after the experiment, and 6 weeks after the experiment in both the experimental and control groups. The sample consisted of 59 students in each group, selected according to predetermined criteria. The experimental group received the Line application program along with the application of behaviour reinforcement theory from November 2565 to January 2566, spanning 12 weeks, while the control group received regular teaching during the same period. Statistical analyses included mean scores, percentages, and the standard deviation. Statistical tests employed included t-test and ANOVA. The findings showed that there were no significant differences in the average scores of favourable attitudes toward non-smoking behaviour, the influence of reference groups on non-smoking behaviour and the perceived ability to control smoking behaviour. However, immediately and 6 weeks after the experiment, the average scores of favourable attitudes toward non-smoking behaviour, were significantly higher than those in the control group.       In conclusion, the program developed by the researchers reinforced behaviour to prevent smoking.  It is recommended for public health professionals and interested individuals to apply this program to at-risk groups to prevent smoking behaviour in the future.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดซ้ำ (Two Groups Repeated Measurement Design) เพื่อศึกษาผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งในโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ และพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียน จำนวน 59 คน ในแต่ละกลุ่ม โดยการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ระยะเวลาในการดำเนินการ 12 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ การเรียนการสอนตามปกติในช่วงระยะเวลาเดียวกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบ คือ การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่นั้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ         สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยได้เสริมสร้างพฤติกรรมในการป้องกันการสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและผู้ที่สนใจนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในอนาคต
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6134
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KritsanaSriprang.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.