Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6130
Title: การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยสูงอายุ จังหวัดขอนแก่น
A MODEL DEVELOPMENT OF BEHAVIORAL MODIFICATION FOR PREVENTING ISCHEMIC HEART DISEASE COMPLICATIONS IN ELDERLY PATIENTS, KHON KAEN PROVINCE
Authors: Maturapoj Purimano
มธุรพจน์ ปุริมะโน
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
Naresuan University
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
archins@nu.ac.th
archins@nu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมป้องกัน
โรคหัวใจขาดเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้สูงอายุ
จังหวัดขอนแก่น
Preventive behaviors
Ischemic heart disease
Complications
Older adults
Khon Kaen province
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract:      Mixed Methods research were employed in this study consisted of two phases. Phase 1 aimed to investigate the causes and factors affecting preventive behaviors of complications among older adults with ischemic heart disease (IHD).  This phase consisted of 2 parts. Part 1 was a qualitative study. Data were collected by interviewing 10 persons including patients, caregivers, and medical personnel. Part 2 was a quantitative study. Data were collected using questionnaires from 300 patients. Phase 2 was to develop a behavioral model to prevent IHD in elderly patients involved of 2 parts. Part 1 was drafting the model, and Part 2 was confirming the model by focus group discussion of 10 persons such as patients, caregivers, and medical personnel. and village health volunteers. The result showed that factors affecting preventive behaviors of complications among older adults with IHD were information support (Beta=0.313), perceive severity (Beta=0.149) and knowledge (Beta=0.124). Behavioral model to prevent complications of IHD in the elderly under the KIP model composed of 3 components: 1) promoting knowledge to the community (Caring activity), 2) Providing information to the community (heart care activities), and 3) stimulating awareness of violence to create motivation to prevent disease. (Thrilling activity).
การศึกษาครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน แบ่งขั้นตอนดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 10 คน ส่วนที่ 2 การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ป่วยจำนวน 300 คน ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยสูงอายุ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การร่างรูปแบบ ส่วนที่ 2 การยืนยันรูปแบบโดยการประชุมกลุ่มผู้ป่วย ผู้ดูแล บุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร (Beta=0.313) แรงจูงใจในการป้องกันโรคด้านการรับรู้ความรุนแรง (Beta=0.149) และด้านความรู้ (Beta=0.124) โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 17.5 (Adjust R2=17.5) รูปแบบพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุภายใต้ KIP model ซึ้งเป็นผลจากงานวิจัยนี้ โมเดลนี้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรู้แก่ชุมชน (กิจกรรมใส่ใจ) 2) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน (กิจกรรมดูแลใจ) และ 3) การกระตุ้นเตือนการรับรู้ความรุนแรงเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการป้องกันโรค (กิจกรรมสะกิดใจ)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6130
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MaturapojPurimano.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.