Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6129
Title: | การพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว เขตสุขภาพที่ 2 Development of The Model of Streptococcus suis PreventionUsing One Health System, Health Area zone 2 |
Authors: | Chaowalit Fakfai เชาวลิต ฝักฝ่าย Thanach Kanokthet ธนัช กนกเทศ Naresuan University Thanach Kanokthet ธนัช กนกเทศ thanachk@nu.ac.th thanachk@nu.ac.th |
Keywords: | การป้องกันโรค ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส Prevention One health system Streptococcus suis |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This study is mixed methods research. Divide the research process into 3 phases with the following objectives: Phase 1 to study infection prevention factors Streptococcus suis by reviewing related literature and research along with in-depth interviews with 5 patients or relatives and 12 experts. Phase 2 to analyze each dimension of factors in preventing infection Streptococcus suis using One Health system by Exploratory Factor Analysis and confirmed by Confirmatory Factor Analysis, the sample group consisted of 375 people working in the field of infectious disease prevention in humans and Phase 3 was to develop a model of infection prevention Streptococcus suis using One Health system, Health Zone 2, by focus group discussion among 8 communicable disease prevention workers in public health service units and 10 communicable disease prevention workers in the community, and future research with future research techniques such as Ethnography Delphi Future Research to create a future image of the model In the group of 17 experts
The results of the study found that there are 10 factors in preventing infection in 3 dimensions of a One Health system, the human aspect, consisting of 4 components: 1) Hygiene of the swine workers 2) Behaviors and beliefs that may cause disease 3) Increasing/reducing a person's risk of infection and 1.4) Personal factors that contribute to disease. Swine, with 2 components including: 1) Management before slaughter and pork and 2) Raising swine to be safe from Streptococcus suis, and 3) Environmental with 4 components including: 1) Sanitation 2) Rules, regulations, laws for prevent Streptococcus suis 3) Reducing disease-causing factors and 4) Local culture that is a risk factor for infection. Leading to the development of infection prevention models Streptococcus suis using a One Health system called the "P-I-D-5C model" consisting of 8 elements: 1) Policy and Strategy 2) Integrated management 3) DOSO (District Operations Center for Disease Prevention Streptococcus suis using One Health system) 4) Collaboration 5) Coordination 6) Communication 7) Capacity development and 8) Community activities. According to the model seen, relevant agencies should use the model to continue disease prevention operations in the area. การศึกษานี้ เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยการป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus suis ด้วยการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ป่วยและญาติ จำนวน 5 ราย และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ระยะที่ 2 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแต่ละมิติของปัจจัยในการป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและยืนยันด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันโรคติดต่อในคน จำนวน 375 คน และระยะที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบของการปัองกันการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว เขตสุขภาพที่ 2 โดยการสนทนากลุ่มในผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันโรคติดต่อในหน่วยบริการสาธารณสุข จำนวน 8 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน จำนวน 10 คน และการวิจัยอนาคตด้วยเทคนิคการวิจัยอนาคตแบบเดลฟายและชาติพันธุ์วรรณนา เพื่อสร้างอนาคตภาพของรูปแบบ ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน ผลการศึกษา พบปัจจัยการป้องกันการติดเชื้อใน 3 มิติของระบบสุขภาพหนึ่งเดียวทั้งสิ้น 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคน 1) สุขอนามัยของผู้เลี้ยง ผู้ชำแหล่ะ ผู้จำหน่าย และผู้ประกอบอาหาร 2) พฤติกรรม ความเชื่อที่อาจก่อให้เกิดโรค 3) ความตระหนักต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคคล และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดโรค ด้านสุกร 1) การจัดการสุกรก่อนการฆ่าและชำแหล่ะสุกร 2) การเลี้ยงสุกรให้ปลอดภัยจาก Streptococcus suis และ สิ่งแวดล้อม 1) การสุขาภิบาล 2) กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายเพื่อป้องกันเชื้อ Streptococcus suis 3) การลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค และ 4) วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว เรียกว่า "P-I-D-5C model" ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานในระดับจังหวัด(Policy and Strategy) 2) การบริหารจัดการแบบบูรณาการของผู้บริหารระดับอำเภอ(Integrated management) 3) การดำเนินงานภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว(DOSO (District Operations Center for Disease Prevention Streptococcus suis using One Health System)) 4) การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(Collaboration) 5) การประสานงานระหว่างหน่วยงาน และในแต่ละระดับ(Coordination) 6) การจัดระบบติดต่อสื่อสาร(Communication) 7) การเสริมสร้างขีดความสามารถ(Capacity development) และ 8) การสร้างกิจกรรมชุมชนในการป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ระบบสุขภาพหนึ่งเดียว(Community activities) จากรูปแบบที่ได้เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินงานป้องกันโรคในพื้นที่ต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6129 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChnowalitFakfai.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.