Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6128
Title: รูปแบบการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอภายใต้ระบบสุขภาพอําเภอ
The Efficient Operating Model of The District Quality of Life Development Committee under the District Health System
Authors: Kanchatpisit Kongsathienpong
กานต์ชัชพิสิฐ คงเสถียรพงษ์
Civilaiz Wanaratwichit
ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร
Naresuan University
Civilaiz Wanaratwichit
ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร
civilaizw@nu.ac.th
civilaizw@nu.ac.th
Keywords: คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต
คณะกรรมการสุขภาพอำเภอ
ระบบสุขภาพอำเภอ
District quality of life development committee
District health board
District health system
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This advanced mixed method research design with explanatory sequential design aimed to develop the efficient operating model of the district quality of life development committee under the district health system. There were 3 phases of research process as follows: 1) Studied the operations and factors affecting the operations of the the district quality of life development committee under the district health system 2) Studied the perspectives on operations and factors affecting the operations of the district quality of life development committee, and 3) the development and evaluate effective operating models of the district quality of life development committee. The research results found that the operations of the district quality of life development committee under the district health system overall was at a moderate level, with a mean of 3.35 (standard deviation 0.67). The factors affecting the effective operation of The efficient operating model of the district quality of life development committee under the district health system includes internal communications, receiving potential development, assigning work within the team, community participation, teamwork Management, work experience, Status divorced/widowed/deserted, and the duration of participation in working in the role of the the district quality of life development committee under the district health. In this regard, the effective operating model of the district quality of life development committee under the district health system, there were 7 components; 1) Determining the characteristics of the district quality of life development committee and the characteristics of the district quality of life development sub-committee 2) Developing the potential of the district quality of life development committee and the district quality of life development sub-committee 3) Improving the potential of the district quality of life development committee secretaries 4) Setting agreements for working together 5) Setting up work in a team format  6) the district quality of life development committee’ s operations process 7) Implementing policies and plans of, and 8) Linking and coordinating the operation system of the district quality of life development committee. The model had been evaluated by connoisseur as be appropriate and practical possibilities. This model should be used in practice to integrate operations to create efficiency in the district quality of life development committee must be sustainable, responsive to needs and consistent with the local context by supporting communities to be as self-reliant as possible. There should be the person who responsible for the work, and  expert for who plays a role in coordinating co-operation between the government, private sector, and citizens in preparing information on spatial problems or other problems related to the development of quality of life both at the sub-district and district levels.
การวิจัยเชิงผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed methods research design) แบบอธิบายตามลำดับ (Explanatory Sequential Design) แบ่งระยะการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามกระบวนการวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษาการดำเนินงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 25 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการประมาณการค่าเฉลี่ยประชากร จำนวน 391 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) 2) ศึกษามุมมองต่อการดำเนินงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ และ3) พัฒนาและประเมินรูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.35 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ ได้แก่ การสื่อสารภายใน การได้รับการพัฒนาศักยภาพ การมอบหมายงานภายในทีม การมีส่วนร่วมของชุมชน การทำงานเป็นทีม ประสบการณ์ทำงานด้านบริหาร สถานภาพหย่า/หม้าย/ร้าง และระยะเวลาที่เข้าร่วมดำเนินงานในบทบาท พชอ. 2) มุมมองต่อการดำเนินงานและต่อปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน พบว่า ประเด็นสาเหตุหลักที่มีผลต่อการดำเนินงาน 5 ตัว ได้แก่ 1) ที่มาของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2) ลักษณะส่วนบุคคลของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3) ลักษณะการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 4) การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 5) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) รูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบได้แก่ ได้แก่ 1) การกำหนดคุณลักษณะและคัดเลือกคณะกรรมการ พชอ. และคณะอนุกรรมการ พชอ. 2) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ พชอ. และคณะอนุกรรมการ พชอ. 3) การยกระดับศักยภาพเลขานุการคณะกรรมการ พชอ. 4) การกำหนดข้อตกลงการทำงานร่วมกัน 5) การกำหนดการทำงานในรูปแบบทีมงาน 6) กระบวนการดำเนินการของพชอ. 7) การนำนโยบายและแผนของ พชอ.สู่การปฏิบัติ พชต. และ 8) การเชื่อมโยงประสานงานระบบการดำเนินการของ พชอ. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยควรนำผลที่ใช้ในเชิงนโยบาย และปฏิบัติในการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ พชอ. อย่างต่อเนื่องและก่อนเริ่มดำเนินการของ พชอ. ควรกำหนดข้อตกลงการดำเนินงานและรูปแบบการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้การดำเนินงาน พชอ. ควรครอบคลุมทั้งกระบวนการทำงานของพชอ. และการนำนโยบายและแผนของพชอ. สู่การปฏิบัติในกลุ่มอนุกรรมการและพชต. โดยมีการเชื่อมโยงระบบงานโดยทีมประสาน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6128
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KanchatpisitKongsathienpong.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.