Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6127
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
THE EFFECTIVENESS OF A DENTAL HEALTH BEHAVIORS PROGRAME APPLYING SELF-EFFICACY THEORY FOR GRADE 6 STUDENTS IN PHROMPIRAM DISTRICT, PHITSANULOK PROVINCE
Authors: Apinya Srikhamsang
อภิญญา ศรีคำแซง
Anusara Sihanat
อนุสรา สีหนาท
Naresuan University
Anusara Sihanat
อนุสรา สีหนาท
anusaras@nu.ac.th
anusaras@nu.ac.th
Keywords: ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง
พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ
คราบจุลินทรีย์
โปรแกรมการดูแลทันตสุขภาพ
Self-Efficacy theory
Dental care behavior
Dental plaque
Dental health care program
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental study aimed to evaluate the effectiveness of a dental health promotion program applying self-efficacy theory used to changing dental health behavior of 6th grade students in Phromphiram District, Phitsanulok Province. The sample consisted of 62 students from 6th grade students. The sample were divided into an experimental group and a control group with 31 students each. The experimental group was received the dental health behaviors program applying self-efficacy theory, while, the control group was received a traditional dental health education. Data were collected in 3 phases: before the experiment, after the experiment, and during the follow-up period. The duration of the program was 12 weeks. Data were analyzed by descriptive statistics, repeated measure ANOVA, and Independent t-test, level statistical significance at 0.05. After the experiment, the experimental group had an average score of self-efficacies (p-value < 0.05), and oral health care behavior: Correct tooth brushing skills and Correct oral health self-examination skills (p-value < 0.05) increased significantly than before the experiment and the control group, while the expectations of results for dental health care practices (p-value < 0.05)  increased significantly than before the experiment and higher than the control group during the follow-up period. After the experiment, the experimental group had a lower of dental plaque than before the experiment and lower than the control group (p-value < 0.05) statistically significant at 0.05. From the results of the study, the activity format can be used in schools with students to promote good and appropriate oral health care behaviors.
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตาม ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา Repeated Measure ANOVA และ Independent t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการดูแลทันตสุขภาพ (p-value < 0.05) และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ คือ ทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีและทักษะการตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเองที่ถูกวิธี (p-value < 0.05) สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพ (p-value < 0.05) สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะติดตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (p-value < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการศึกษานี้สามารถนำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและเหมาะสมของนักเรียนต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6127
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ApinyaSrikhamsang.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.